ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (3)

สิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ราชอาณาจักรสยามที่เป็นประชาธิปไตย

เมื่อหลวงศุภชลาศัยได้เข้าเฝ้าพระปกเกล้าฯ ได้รับทราบถึงการตัดสินพระทัยต่อการก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงรีบแจ้งข่าว ให้ นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (ในฐานะผู้รักษาการแม่ทัพเรือ) ทราบเมื่อเวลา 10.50 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน 2475 เพื่อถ่ายทอดถึงคณะราษฎร และ ผู้รักษาพระนคร ว่า ในหลวงได้มีพระราชหัตถเลขาตอบรับคณะราษฎรอย่างเป็นทางการ ว่าจะยอมเป็นพระเจ้าอยุ่หัวภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามที่คณะราษฎรได้แจ้งให้พระองค์ทราบ และให้จัดขบวนรถไฟพิเศษให้พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ประทับ ตามพระราชประสงค์ ข้อความในพระราชหัตถเลขามีดังนี้

**********
สวนไกลกังวล หัวหิน
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ถึงผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร

ด้วยได้ทราบความตามสำเนาหนังสือที่ได้ส่งไปยังกระทรวงมุรธาธรว่า คณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพระเจ้ากลับพระนคร เป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฏร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไม ไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และความจริงข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้ว ที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิด เพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปตามวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญ โดยสะดวก ถ้าเพราะว่าถ้าข้าพเจ้าไม่ยอมรับเป็นตัวเชิด นานาประเทศก็คงไม่ยอมรับรัฐบาลใหม่นี้ ซึ่งคงจะเป็นความลำบากยิ่งขึ้นหลายประการ

ความจริงตัวข้าพเจ้าเองในเวลา นี้ก็ทราบกันอยู่แล้วว่ามีอาการทุพลภาพและไม่มีลูกสืบวงศ์สกุล และจะไม่ทนงานไปนานเท่าใดนัก ทั้งไม่มีความปรารถนามักใหญ่ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์และความสามารถที่จะช่วยพยุง ชาติของเราให้เจริญเทียมหน้าเขาบ้าง ที่พูดมานี้เป็นความจริงใจเสมอ

ประชาธิปก ปร.

**********

รถไฟพิเศษได้มาถึงหัวหินเวลา 17.00 น. จากนั้นอีกครึ่งชั่วโมง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระบรมราชินี พร้อมด้วย พลโท พระยาวิชิตวุฒิไกร (สมุหราชองครักษ์) และข้าราชบริพาร มาถึงสถานีหัวหิน จากนั้นเสด็จประทับบรถไฟพระที่นั่ง ซึ่งมีคณะรับเสด็จประกอบด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์, นายพลเอก กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน, นายพลเรือเอก กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร, หม่อมเจ้าฉัตรมงคล และนายทหารชั้นเรือเอกจากเรือหลวงสุโขทัย รออยู่แล้ว

วันอาทิตย์ 26 มิถุนายน เวลา 00.35 น. ขบวนรถไฟพิเศษจากหัวหินถึงสถานีจิตรลดา มหาเสวกเอก เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์ เย็น อิสรเสนา ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงวัง และข้าราชการกระทรวงวัง 3-4 นาย ได้มารับเสด็จโดยไม่มีกองเกียรติยศ ในหลวงได้มีพระราชปฏิสันถารกับเสนาบดีกระทรวงวัง จากนั้นเสด็จขึ้นรถพระที่นั่งไปยังวังศุโขทัย ส่วนเจ้านายที่ตามเสด็จได้ประทับรถยนต์ไปพักที่บ้านกรมหลวงสิงห์วิกรมไกร และกรมพระกำแพงเพชรฯประทับรถกลับวังบ้านดอกไม้

ส่วนร้อยเอก หลวงโหมรอนราญ, นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม และนายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ ประทับรถไฟต่อไปยังสถานีกรุงเทพ พอถึงสถานีกรุงเทพก็เจอกับทหารที่ตั้งแถวรออยู่ และนายเรือเอกที่ตามพระองค์เจ้าอลงกฏมาได้ชักปืนจี้พระองค์พร้อมวัทยาหัตถ์ พาพระองค์ไปที่พระที่นั่งอนันตสมาคม

ต่อมาในเวลา 10.00 น. ผู้แทนคณะราษฎร นำโดย พลเรือตรี พระยาสรยุทธเสนี, พันโท พระประสาสน์พิทยายุทธ หนึ่งใน 4 ทหารเสือ, พันตรี หลวงวีรโยธา ผบ. ร.2 พัน. 3, อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี, นายจรูญ ณ บางช้าง และ นายสงวน ตุลารักษ์ ได้เข้าเฝ้าถวายพระราชกำหนดนิรโทษกรรมคณะราษฎร และร่างรัฐธรรมนูญที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ร่างไว้ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ทรงรับสั่งถามว่า ได้อ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาก่อนแล้วหรือยัง ก็ได้รับคำตอบว่ายังมิได้อ่าน เพราะมิใช่หน้าที่โดยเฉพาะและได้กราบทูลต่อไปว่า ทางพระยาทรงสุรเดชได้ประชุมกำชับไว้มั่นคงแล้วว่า ให้ร่างรัฐธรรมนูญตามแบบอังกฤษ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงทรงรับสั่งว่าถูกต้องแล้ว ต้องการจะให้เป็นเช่นนั้น แต่เรื่องอะไรจึงต้องใช้คำแทนเสนาบดีว่า "คณะกรรมการราษฎร" ซึ่งเป็นแบบรัสเซีย

พระยาทรงสุรเดชกราบทูลขอพระราชทานอภัยที่มิได้อ่านมาก่อน และถวายสัตย์ว่าจะไปร่างมาใหม่ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เวลา 10.45 น. ผู้แทนคณะราษฎร์จึงถวายบังคมลา

ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พระยามโนปกรณ์นิติธาดานำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระตำหนักจิตรลดาฯ และในวันเดียวกันก็ได้มีประกาศวิทยุเป็นทางการทั่วประเทศ ที่ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย

จากนั้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม คณะกรรมการราษฎรจึงได้ออก "แถลงการณ์คณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี)" ดังนี้

**********

แถลงการณ์คณะกรรมการราษฎร

เนื่องแต่คณะราษฎรได้มีประกาศแสดงถึงการกระทำของกษัตริย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.นี้ และต่อมาคณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครอง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินแก่ราษฎรแล้วนั้น

ต่อมาเมื่อวัน ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. นี้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาปรีชาชลยุทธ พระยาศรีวิสารวาจา พระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงประดิษฐ์มนูธรรม กรรมการราษฎรได้ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังสุโขทัย ทรงรับสั่งถึงความจริงที่ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีต่อราษฎร และทรงพระราชดำริจะให้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินแก่ราษฎรอยู่แล้ว และสิ่งอื่นๆ ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะกระทำก็ล่าช้าไป หาทันกาลสมัยไม่ ส่วนการที่ข้าราชการในรัฐบาลของพระองค์ใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต ก็ทรงสอดส่องอยู่เหมือนกัน หาได้สมรู้ร่วมคิดด้วยไม่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรารถนาดีต่อราษฎรเช่นนี้ และทรงยอมร่วมเข้าคณะราษฎร โดยเป็นประมุขของประเทศสยามแล้ว ฉะนั้น คณะกรรมการราษฎรจึงเชื่อมั่นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ปรารถนาดีต่อราษฎร

ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2475

**********


พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข วันที่ 13-19 พฤศจิกายน 2553
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (52)

"คณะปฏิรูปฯ" และ "รัฐบาลหอย" กับมรสุมลูกแรก กบฏ 26 มีนาคม 2520 ตอนเย็นวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นั่นเอง นายทหารคณะหนึ่งปรากฏตัวขึ้นในนาม "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช โดยให้เหตุผลในคำประกาศว่า เพื่อกอบกู้สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้พ้นจากสถานการณ์อันเลวร้าย จึงยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ยุบรัฐสภา ยกเลิกพรรคการเมือง ประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมทั้งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 01.00 – 04.30 น. จากนั้นในวันที่ 8 ตุลาคม พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นการการสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของประชาชนที่รวมตัวกันล้มระบอบเผด็จการทหาร พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ตั้งคณะรัฐมนต...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (56)

เรื่องของ "เปรม": เส้นทางที่ไม่ได้เลือก? รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการรวบรวมและดำเนินคดีในฐานะกบฏคณะบุคคลทั้งทหารและพลเรือน รวมทั้งประกาศให้ให้ผู้ร่วมก่อความไม่สงบรายงานเข้ารายงานตัว จนถึงเวลาที่กำหนดเป็นเส้นตาย มีผู้รายงานตัวครบ 289 คน เป็นพลเรือน 110 คน เช่น นายรักศักดิ์ วัฒนาพานิช และ นายบุญชนะ อัตถากร ตำรวจ 25 คน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และทหาร 154 คน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกลุ่มทหารหนุ่มที่เรียกว่า "ยังเติร์ก (Young Turk)" ทั้งนี้เป็นการเรียกขานกันโดยมีที่มาจากขบวนการปัญญาชนหัวใหม่ปลายยุคอาณาจักรออตโตมาน ที่ลุกขึ้นปฏิวัติประชาธิปไตยระหว่างปี ค.ศ. 1876 ถึงปี ค.ศ. 1923 ผู้นำคนสำคัญคือ มุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) ซึ่งก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ ใน "สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation)" ช่วงปี ค.ศ. 1919-1923 จนเกิด สาธารณรัฐตุรกี จึงมีชื่อเรียกความพยายามทำรัฐประหารครั้งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "กบฏยังเติร์ก" ในจำนวนแกนนำระดับหัวหน้าผู้ก่อการคนสำคัญที่เดินทางออกนอกประเทศ พ.อ.มนูญ รูปขจร ลี...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (50)

6 ตุลาคม 2519 วันสังหารนกพิราบ ในวันที่ 2 ตุลาคม 2519 อันเป็นกำหนดเวลาเส้นตายที่ศูนย์นิสิตฯยื่นต่อรัฐบาล ทางฝ่าย กระทิงแดง ยกกำลังอันธพาลทางการเมืองจำนวนหนึ่งอ้างว่าเพื่อป้องกันการบุกรุกมาตั้งแนวล้อมวัดบวรนิเวศ ปรากฏว่าหลังจากตัวแทนตัวแทนศูนย์นิสิตฯ ไม่ได้รับคำตอบใดจากการเข้าพบนายกรัฐมนตรี จึงกลับออกมาและเรียกประชุมได้ข้อสรุปออกมาเป้นมติให้มีการชุมนุมประชาชนครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในเวลาเย็นวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม ต่อมานับจากช่วงเช้าของวันที่ 4 ตุลาคมนั้นเอง กลุ่มนักศึกษาอิสระในธรรมศาสตร์รวม 21 กลุ่ม เริ่มการรณรงค์ให้นักศึกษางดสอบและเข้าร่วมการประท้วงขับไล่จอมพลถนอม ในการนี้ ชมรมนาฏศิลป์และการละครได้จัดการแสดงละครปลุกเร้าจิตสำนึกทางการเมือง โดยมีฉากหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนถึงช่างไฟฟ้าที่ถูกสังหารที่นครปฐม ปรากฏว่าการรณรงค์ประสบผลจนทำให้มหาวิทยาลัยต้องประกาศเลื่อนการสอบออกไปอย่างไม่มีกำหนด ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น. ประชาชนเริ่มทยอยกันมาชุมนุมที่สนามหลวง แล้วเกิดฝนตก แต่ในขณะเดียวกันมีสัญญาณบ่งบอกว่าในช่วงกลางคืนน่าจะมีการคุกคามโดยกลุ่มที่ต่อต้านนิสิต นักศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มว่าผลักดันโดยขบ...