ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2012

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (57)

อภิปราย "รัฐบาลเปรม 2/1": ซื่อสัตย์แต่ขาดความสามารถ… การประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟากรัฐบาลจัดเป็นครั้งแรก ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ตามข้อเสนอของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีและสมาชิกผู้แทนราษฎรประมาณ 100 คน ร่วมประชุม แต่หลังจากนั้นไม่ทันไร นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้ากลุ่มประชากรไทยกับคณะ ได้เสนอขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันที่ 28 พฤษภาคม และลงมติในวันที่ 1 มิถุนายน ผลการประชุมได้ลงมติไว้วางใจ ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2524 ได้มีพระบรมราชองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง ทั้งนี้มีพรรคการเมืองมายื่นขอจดทะเบียนทั้งหมดรวม 20 พรรค ในขณะเดียวกันความยุ่งยากในการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยแรกของนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งก็เริ่มส่อเค้าขึ้น ไล่มาตั้งแต่ปัญหาการเลือกตั้งอธิบดีกรมอัยการ ปัญหากรณีส่อเค้าทุจริตการสอบเป็นนายร้อยตำรวจตรี การจับแหล่งปลอมปนน้ำมันขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการกวดขันสถานเริงรมย์ นอกจากนี้ปรากฏการณ์ "คนป่าคืนเมือง" เป็นจำนวนมาก จากอดีตนักเรียน นิสิต นัก

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (56)

เรื่องของ "เปรม": เส้นทางที่ไม่ได้เลือก? รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการรวบรวมและดำเนินคดีในฐานะกบฏคณะบุคคลทั้งทหารและพลเรือน รวมทั้งประกาศให้ให้ผู้ร่วมก่อความไม่สงบรายงานเข้ารายงานตัว จนถึงเวลาที่กำหนดเป็นเส้นตาย มีผู้รายงานตัวครบ 289 คน เป็นพลเรือน 110 คน เช่น นายรักศักดิ์ วัฒนาพานิช และ นายบุญชนะ อัตถากร ตำรวจ 25 คน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และทหาร 154 คน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกลุ่มทหารหนุ่มที่เรียกว่า "ยังเติร์ก (Young Turk)" ทั้งนี้เป็นการเรียกขานกันโดยมีที่มาจากขบวนการปัญญาชนหัวใหม่ปลายยุคอาณาจักรออตโตมาน ที่ลุกขึ้นปฏิวัติประชาธิปไตยระหว่างปี ค.ศ. 1876 ถึงปี ค.ศ. 1923 ผู้นำคนสำคัญคือ มุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) ซึ่งก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ ใน "สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation)" ช่วงปี ค.ศ. 1919-1923 จนเกิด สาธารณรัฐตุรกี จึงมีชื่อเรียกความพยายามทำรัฐประหารครั้งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "กบฏยังเติร์ก" ในจำนวนแกนนำระดับหัวหน้าผู้ก่อการคนสำคัญที่เดินทางออกนอกประเทศ พ.อ.มนูญ รูปขจร ลี