ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2012

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (47)

ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นก่อนรัฐบาลเสนีย์ 1 ผลการเลือกตั้งในวันที่ 4 เมษายน 2519 ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะด้วยเสียงมากที่สุดจากจำนวนพรรคการเมืองที่ได้ผู้แทนราษฎรทั้ง 19 พรรค คือ 114 ที่นั่ง รองลงมาคือพรรคชาติไทยได้ 56 ที่นั่ง ในจำนวนนี้พรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เข้ามานั่งในสภาหินอ่อนเพียง 1 คนถึง 9 พรรค ส่วนสมาชิกวุฒิสภายังคงเป็นชุดเดิม มี 100 คน รวมสมาชิกรัฐสภา 379 คน แม้กระทั่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้า พรรคกิจสังคม นายกรัฐมนตรี ก็พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ดังนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์ จึงกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำร่วมกั บพรรคชาติไทย ที่นำโดย พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร พรรคธรรมสังคม นำโดย พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ และ พรรคสังคมชาตินิยม นำโดย นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และจากขบวนการ "ขวาพิฆาตซ้าย" ในช่วงที่ผ่านมาปีเศษ ผลการเลือกตั้งในคราวนี้ปรากฏว่าพรรคการเมืองในแนวทางสังคมนิยมทั้ง 3 พรรคได้รับเลือกเข้าสภาผู้แทนราษฎรเพียง 6 คนเท่านั้น คือ พรรคพลั

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (46)

มีความตายมาหยิบยื่น ราคาของสิทธิเสรีภาพ "ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย" มีการดำเนินการในทุกกลุ่มการเคลื่อนไหวในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกรรมกร ชาวนา หรือแม้กระทั่งนิสิตนักศึกษา ซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2517 ดังกรณีการลอบสังหาร นายเมตตา อุดมเหล่า ผู้นำชาวนาแห่งมาบประชัน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2517 ซึ่งเป็นผู้นำตัวแทนประชาชนจากหลายหมู่บ้านจำนวนรวมกว่า 2,000 ครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำมาบประชัน ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลโป่ง อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งตระหนักว่าเป็นโครงการที่หาได้มีจุดมุ่งหมายมาใช้เพื่อการชลประทานในทางเกษตรกรรม หากเป็นการหล่อเลี้ยงเมืองพัทยาซึ่งกำลังจะมีการสร้างโรงแรมหลายแห่ง รวมทั้งสนามกอล์ฟ ทั้งนี้เกษตรกรและประชาชนรากหญ้าในพื้นที่ได้เดินทางเข้ามาประท้วงรัฐบาลโดยขอพบนายกรัฐมนตรีในวันที่ 22 กรกฎาคม และต่อเนื่องมาอีกหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ต้องระงับโครงการไประยะหนึ่ง ถัดมาในวันที่ 23 สิงหาคม 2517 คือการลอบยิง นายแสง รุ่งนิรันดรกุล นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีต 1 ใน 9 นักศึกษา อันได้แก่ แสง รุ่งนิรันดรกุล, วันชัย แซ่เตียว, บุญส่ง ชเลธร,

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (45)

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช: ต้นแบบรัฐบาลเสียงข้างน้อย จากผลการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2517 ซึ่งกำหนดให้มีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 100 คน เรียงลำดับ 5 อันดับพรรคการเมืองแรกที่มีผู้แทนราษฎรเข้าไปนั่งในสภาหินอ่อน คือ พรรคประชาธิปัตย์ 74 คน พรรคธรรมสังคม 45 คน พรรคชาติไทย 28 คน พรรคเกษตรสังคม 19 คน และ พรรคกิจสังคม 18 คน ปรากฏการณ์อันมีนัยสำคัญ ต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยหลังการทำรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 เมื่อเดินทางมาถึงจุดที่ประชาชนโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มล่างของสังคมได้รับผลสะเทือนจากช่วงประชาธิปไตยเบ่งบานหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั่นคือ มีพรรคการเมืองที่ประกาศจุดยืนและแนวทางสังคมนิยมเกิดขึ้น 3 พรรค และมีจำนวนผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้ คือ พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พันเอก สมคิด ศรีสังคม เป็นหัวหน้าพรรค นายไขแสง สุกใส เป็นรองหัวหน้าพรรค ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน เป็นเลขาธิการพรรค และ นายวิรัตน์ ศักดิ์จิระภาพงษ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค ได้ 15 คน, พรรคแนวร่วมสังคมนิยม นายแคล้ว นรปติ เป็นหัวหน้าพรรค นายพรชัย แสงชัจจ์ เป็นเลขาธิการพรรค ได้ 10 คน

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (44)

รัฐบาลสัญญา 2: ห้วงเวลาก่อนการเลือกตั้ง หลังจากที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐมนตรีร่วมคณะ 31 คน แล้วจึงเปิดประชุมแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นับเป็นรัฐบาลชุดที่ 34 นับจากการอภิวัฒน์สยาม 2475 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าสถานการณ์โดยรวมของประชาชนกลุ่มๆต่าง โดยเฉพาะกลุ่มที่ในปัจจุบัน ใช้คำว่า "คนรากหญ้า" ซึ่งได้แก่ กรรมกรผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ชาวไร่ชาวนาในชนบท และกลุ่มคนจนหรือผู้มีรายได้น้อยในเมือง เช่น พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่-แผงลอย กลุ่มชาวสลัม และกลุ่มอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกัน ที่สำคัญคือนับจากการเดินขบวนคัดค้านเลือกตั้งสกปรกในปี 2500 เป็นต้นมา จนถึงการชุมนุมเดินขบวนประท้วงคำตัดสินของศาลโลกกรณีเขาพระวิหารในปี 2505 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นการชุมนุมทางการเมืองและการเดินขบวนเรียกร้องทางด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ที่มีขนาดใหญ่ และมีขอบเขตทั่วประเทศ มีผู้คนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือบทบาทข

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (43)

รัฐบาลสัญญา 1: ประชาธิปไตยผลิบาน ตัวเลขที่เป็นทางการจากการตรวจสอบติดตามของคณะกรรมการที่ประกอบขึ้นจากตัวแทนกลุ่มบุคคลหลายฝ่าย รายงานผลจากเหตุการณ์รุนแรงตลอดวันที่ 14-15 ตุลาคม 2516 ว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 77 คน และบาดเจ็บอีก 857 คน นับจากวันอังคารที่ 16 ตุลาคม กรุงเทพฯ เริ่มกลับสู่ภาวะปรกติ นักเรียน นิสิตนักศึกษาพากันมาช่วยเก็บกวาดสิ่งหักพัง ตลอดจนทำความสะอาดพื้นที่ที่เกิดความเสียหายทั่วกรุงเทพโดยเฉพาะตลอดแนวถนน ราชดำเนินกลาง และมีหน่วยอาสาสมัครแพทย์และพยาบาล เปิดศูนย์บริจาคโลหิตชั่วคราวขึ้นเพื่อรับบริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ในขณะเดียวกันประชาชนได้ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของมายังศูนย์นิสิตฯ ไม่ขาดสาย เวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 16 ตุลาคม จอมพลถนอมพร้อมครอบครัวออกเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อลี้ภัยการเมืองไปอยู่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ 14 ตุลา ได้รับการยอมรับว่าเป็น การลุกขึ้นสู้ของประชาชน (People’s uprising) ครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 20 โดยเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาคประชาชนในประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา เช่น เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู ใน

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (42)

ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ ประมาณเที่ยงวันของวันที่ 14 ตุลาคม สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น จุดปะทะระหว่างนักเรียน นิสิต นักศึกษา และมีประชาชนที่สลัดทิ้งความเกรงกลัวต่ออำนาจเผด็จการทหาร ซึ่งครอบงำสังคมไทยมานับสิบปี ผนวกกับความเห็นอกเห็นใจเมื่อเห็นเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติ กล้าลุกขึ้นท้าทายอำนาจทมิฬที่ใช้ความรุนแรงและแสนายานุภาพทางทหารเข้ากระทำ ต่อลูกหลานของตนที่มีแต่ 2 มือเปล่ากับอาวุธตามมีตามเกิด ทำให้ ฝูงชนที่ลุกขึ้นสู้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ การปะทะนองเลือดบนถนนราชดำเนิน ลุกลามไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริเวณสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม บางลำพู รัฐบาลที่นำโดย จอมพลถนอม-จอมพลประภาส-พันเอกณรงค์ ซึ่งในเวลาต่อมาฝ่ายที่ลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยเรียกว่า "สามทรราชย์" ออกคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้าน ระหว่าง 22.00-05.30 น. และประกาศปิดโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ทั้งนี้กำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเขตอันตราย เตรียมเข้าการกวาดล้างใหญ่ ให้ "พวกก่อจลาจล" ออกจากบริเวณดังกล่าวภายในเวลา 18.00 น.

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (41)

การลุกขึ้นสู้ 14 ตุลาคม 2516: วิญญาณเสรีชนตื่นขึ้นแล้ว ดูเหมือนสถานการณ์น่าจะคลี่คลายไปสู่ความสงบเรียบร้อย เมื่อในเวลาประมาณ 04.30 น. พ.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร ได้อันเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่าน ความว่า "คนที่เป็นผู้ใหญ่ (คนเก่า) นั้นเขามีประสบการณ์ ส่วนคนหนุ่มสาวมีพลังแรงทั้งร่างกายและทั้งความคิด ถ้าหากมาปรองดองสมัครสมานกัน ทำงานอย่างพร้อมเพียงไม่ผิดใจแคลงใจกัน การบ้านการเมืองก็จะดำเนินไปได้ด้วยดี นิสิตนักศึกษาก็เป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบเลือกเฟ้นมาเป็นที่แน่นอนแล้วว่ามีทั้งสติและปัญญาพร้อมมูล จึงควรจะได้รู้ถึงความคิดผิดชอบชั่วดีทุกอย่าง เมื่อนิสิตนักศึกษาได้ดำเนินการมาตรงเป้าหมาย และได้รับผลตามสมควรแล้ว ก็ขอให้กลับคืนสู่สภาพปรกติเพื่อยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชนทั่วไป" จากนั้น พ.ต.อ.วิสิษฐ์ เดชกุญชร และ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล รวมทั้งกรรรมการศูนย์นิสิตฯ อีกหลายคนได้พูดต่อขอให้ฝูงชนแยกย้ายกลับบ้าน และประกาศให้ทุกคนหันหน้าไปทางพระตำหนักจิตรลดาฯ ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วฝูงชนก็เริ่มสลายตัวในเวลา 06.00 น. เหตุการณ์ที่นำไปสู่สถานการณ์ที

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (40)

24 ชั่วโมง 13 ตุลาคม 2516: สถานการณ์มีแต่ความสับสน 13 ตุลาคม 2516 แกนนำผู้ปฏิบัติการในการชุมนุมของนิสิตนักศึกษามีมติเคลื่อนไหวเป็นฝ่ายรุกต่อรัฐบาล หลังจากไม่มีทีท่าในทางบวกในกรณีจับกุม 13 ผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มจากเวลา 09.30 น. ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์นิสิตฯ มีมติแบ่งหน้าที่เป็น 3 ชุด ชุด ที่ 1 นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล และตัวแทนศูนย์นิสิตฯส่วนหนึ่ง ไปเจรจากับรัฐบาลเป็นครั้งสุดท้าย ชุดที่ 2 เลขาธิการศูนย์ฯ นำคณะไปขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักจิตรลดาฯ ชุด ที่ 3 นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุลและผู้ร่วมทีม ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของขบวนนักเรียน นิสิตนักศึกษาโดยขบวนจะเคลื่อนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลาประมาณ 10.00 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์นิสิตและอาสาสมัครนักเรียนนิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบัน จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินขบวน คือ ธงชาติ ธงเสมาธรรมจักร หมวกกันแดด หมวกพลาสติกสำหรับป้องกันแก๊สน้ำตา พระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ อุปกรณ์แสง-เสียงและเครื่องปั่นไฟ เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ รวมทั้งเสบียงอาหารและน้ำ นอกจากนั้นยังเตรียม

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (39)

เสียงเพลงก้องฟ้า "สู้ไม่ถอย": ถนนทุกสายมุ่งสู่ธรรมศาสตร์ เช้าวันที่ 10 ตุลาคม นิสิตนักศึกษาจากสถาบันในเขตกรุงเทพฯ รวมทั้งนักเรียนระดับอาชีวศึกษาทั้งช่างกลและช่างก่อสร้าง รวมทั้งนักศึกษาจากวิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยครูธนบุรี ทยอยเข้าสมทบการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะที่ตัวแทนจากวิทยาลัยครูสวนสุนันทาและวิทยาลัยวิชาการศึกษา มาแจ้งว่ากำลังส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างเดินทาง นับเป็นครั้งแรกที่นักเรียนอาชีวะประกาศตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง เวลา 10.30 น. จอมพลถนอม กิตติขจร จัดแถลงข่าวว่ามีการพบเอกสารล้มล้างรัฐบาลและโปสเตอร์ที่ไม่ได้มุ่งหมายจะเรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างเดียว รวมทั้งเอกสารของพรรคคอมมิวนิสต์ จึงตั้งข้อหาเพิ่มในฐานะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงต่อรัฐ และมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ช่วงบ่าย ตัวแทนนักเรียนนิสิตนักศึกษาขึ้นเวทีที่บริเวณลานโพธิ์ ประกาศงดการเข้าสอบประจำภาคทุกสถาบัน โดยจะยืนหยัดเรียกร้องจนกว่าผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คนจะได้รับความเป็นธรรม สลับกับการร้องบทเพลงแห่งการต่อสู้ "สู้ไม่ถอย" ที่แต่งโดย นา

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (38)

ลานโพธิ์: ที่มั่นแห่งแรกสู้เพื่อเอาประชาชนคืนมา นับจากช่วงสายของวันที่ 8 ตุลาคม ขบวนการนักศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยก็เริ่มต้นขับเคลื่อน หลังจากการประสานงานกันระหว่างนิสิต นักศึกษากลุ่มต่างๆ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปัจจุบัน) มีนักศึกษาจำนวนมากชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างเปิดเผยภายในรั้ววิทยาลัย ในเวลาเดียวกันที่จังหวัดเชียงใหม่มีการโปรยใบปลิวไปทั่วเขตตัวเมือง รวมทั้งปิดโปสเตอร์ตามถนนสายหลักต่างๆ มีข้อความสนับสนุน กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมกับโจมตีรัฐบาล นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่แถลงว่ากำลังติดตามข่าวและจะส่งผู้แทนนักศึกษามาร่วมหารือกับศูนย์ที่กรุงเทพฯ ช่วงบ่าย จอมพลประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 เรื่อง "การจับกุมกลุ่มบุคคลผู้เรียกร้องให้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ" ทั้งนี้ เนื้อหาในการประชุมสรุปสถานการณ์ จอมพลประภาสได้เท้าความการเคลื่อนไหวของนิสิต นักศึกษา นับตั้งแต่กรณีประท้วง ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ การลบชื่อ 9

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (37)

ที่ใดมีแรงกด ที่นั่นย่อมมีแรงต้าน: "จงคืนอำนาจแก่ปวงชนชาวไทย" วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2516 เวลา 09.15 น. กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ประมาณ 20 คน รวมตัวกันที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฯ เพื่อนำใบปลิวที่จัดเตรียมไว้แล้วเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อ สิทธิเสรีภาพ รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแจกกับประชาชน ที่ปกหน้าของหนังสือได้อัญเชิญ พระราชหัตถเลขาการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีไปถึงคณะราษฎร มีความว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร" ในระหว่างที่กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญออกเดินแจกใบปลิวและหนังสือแสดงเจตนารมณ์ประชาธิปไตย มีการชูโปสเตอร์อีก 16 แผ่น มีข้อความสะท้อนเนื้อหาความคับข้องใจกับการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการ อาทิเช่น "น้ำตาเราตกใน เมื่อเราไร้รัฐธรรมนูญ" "จงคืนอำนาจแก่ปวงชนชาวไทย" "

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (36)

วันคืนสุกดิบ 14 ตุลาฯ: กงล้อประวัติศาสตร์เริ่มหมุน แม้จะดูเหมือนกว่าภายใต้การปกครองในนาม "สภาบริหารคณะปฏิวัติ" ที่มีจอมพลถนอมเป็นประธาน โดยแต่งตั้งผู้อำนวยการ 4 ฝ่าย คือ 1. พล.อ.ประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ 2. นายพจน์ สารสิน เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง 3. พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเกษตรและคมนาคม และ 4. พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศึกษาและสาธารณสุข ในขณะที่ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ลูกชายจอมพลถนอมและลูกเขยจอมพลประภาส ยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจแทบจะเรียกได้ว่าครอบจักรวาลในการตรวจสอบควบคุมข้าราชการ แต่กลับปรากฏว่ารัฐบาลคณะปฏิวัติกลับไม่สามารถสร้างเสถียรภาพในลักษณะเดียวกับรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ในช่วงก่อนหน้านั้นได้ ประจวบกับใ นปี 2515 จะมีการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารฯ จึงจำเป็นต้องมีรัฐบาลให้ถู

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (35)

ถนอมกับอำนาจที่ไม่เด็ดขาด: การเคลื่อนไหวก่อน 14 ตุลาฯ สำหรับในการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 นั้น ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2511 มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมาชิกวุฒิสภา จำนวน 120 คน ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาในรัฐสภา ทั้งนี้ในจำนวนสมาชิกวุฒิสภาคนสำคัญที่ยังคงมีบทบาททางการเมืองมาจนทุกวันนี้คือ พ.อ. เปรม ติณสูลานนท์ (ยศในขณะนั้น) ร่วมกับนายทหารและพลเรือนอื่นๆ เช่น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลเอก กฤษณ์ ศรีวะรา, พล.ต. เกรียงไกร อัตตะนันท์, พล.ท. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์, พล.ต.ท. พจน์ เภกะนันท์, พล.ต. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พ.อ. ยุทธศักดิ์ คล่องตรวจโรค, พล.ร.ท. สงัด ชะลออยู่, พล.ต.ต. สง่า กิตติขจร และ พล.ท. สายหยุด เกิดผล แม้ว่า พรรคสหประชาไทย ที่มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค จะได้เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ทั้งยังมีรองหัวหน้าพรรค 3 คนที่น่าจะสามารถทำหน้าที่ฝ่ายบริหารได้อย่างมีเสถียรภาพ คือ จอมพลประภาส จารุเสถียร, พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ และ นายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เป็นเลขาธิการ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (34)

ถนอม กิตติขจร: ผู้สืบทอดยุคแห่งความมืดบอดทางปัญญา สภาพการทางการเมืองและสังคมโดยทั่วไปนับจากมรณกรรมของ "จอมพลผ้าขาวม้าแดง" ยังอยู่ภายใต้การปกครองแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดยอาศัย "อำนาจคณะปฏิวัติ" เป็นเวลาถึง 1 ทศวรรษที่พัฒนาการทางการเมืองในสังคมไทยตกอยู่ในภาวะชะงักงันเกือบจะโดยสิ้น เชิง ที่สำคัญการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีหลักประกันด้วย "รัฐธรรมนูญ" และ "สิทธิของประชาชน" ในการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร กลายเป็นเสมือนคำ "ต้องห้าม" ไปโดยปริยาย ด้วยนโยบาย "ปิดหู-ปิดตา-ปิดปาก" ที่รัฐบาลคณะปฏิวัติที่นำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้สืบเนื่องต่อมาจากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลก็คือ การรวมกลุ่มของประชาชนวงการต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น และมีกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย "สาบสูญ" ไปจากประเทศไทยโดยสิ้นเชิง ไล่เรื่อยลงไปตั้งแต่ "พรรคการเมือง" "สมาคมกรรมกร-ชาวนา" และ "ขบวนการนิสิตนักศึกษา" ที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ความบีบคั้นและนโยบาย "กวาดล้าง" ผู้มี