ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2012

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (55)

1 ปีรัฐบาลเปรม 1-2: "กบฏเมษาฮาวาย" พ่าย หลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายกรัฐมนตรี ผลงานลำดับแรกของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือการแจ้งแก่กลุ่มการเมืองต่างๆในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันหารือเสนอรายชื่อตัวบุคคลเข้าร่วมคณะรัฐมนตรี โดยจะให้มีรัฐมนตรีร่วมคณะน้อยที่สุด เพื่อจัดตั้งรัฐบาลภายใน 15 วัน ซึ่งในที่สุดวันที่ 12 มีนาคม 2523 จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีรวม 37 คน พลเอกเปรมกล่าวปราศรัยต่อประชาชนทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ทุกเครือข่าย ก่อนที่จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเพื่อขอความไว้วางใจ ในวันที่ 29 มีนาคม 2523 เพื่อที่จะเข้าแบกรับภารกิจการบริหารประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากนายทหารระดับผู้บัญชาการเหล่าทัพ และเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาแล้ว 2 กระทรวงตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ หนึ่งในปัญหาหลักของคณะผู้บริหารประเทศในช่วงเวลาคาบเกี่ยวการสิ้นสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ดำเนินสงครามประชาชนอยู่ในเขตป่าเขามาตั้งแต่ปี 2508 นั้น ย่อมหนีไม่พ้น ปัญหาการการขับเคี่ยวกันระหว่างรัฐบาลกับกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ที่รัฐบาลหลังกา

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (54)

หมดเวลา "แกงไก่ใส่บรั่นดี": ฉากแรกสู่อำนาจของ "ป๋า" ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญทางการเมืองชนิดล้มลุกคลุกคลานมาตลอดหลังการรัฐประหาร 2490 ซึ่งเป็นการ "โค่นล้ม" ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ตามความหมายจากการสัมภาษณ์นายปรีดี พนมยงค์ ที่แสดงไว้เมื่อปี 2525 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี "การอภิวัฒน์สยาม 2475" โดยสถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย จังหวะก้าวทางการเมืองที่มีความมหายและนัยสำคัญ และส่งผลสะเทือนและมีอิทธิพลต่อการเมืองในเวลาต่อมาอีกกว่า 30 ปี คือ การก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองอย่างเต็มตัวของ พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ (ยศในขณะนั้น) จากการได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่มีนายกรัฐมนตรี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นเจ้ากระทรวง ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 (11 พฤศจิกายน 2520 - 21 ธันวาคม 2521) และในเวลาต่อมาในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 41 (12 พฤษภาคม 2522 - 3 มีนาคม 2523) พล.อ.เปรม ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และโดยที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 พุทธศักราช 2520 จากการรัฐประหาร กำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (53)

จาก "หอย" สู่ "อินทรีแห่งทุ่งบางเขน": รัฐบาลพลเรือนหรือจะสู้รัฐบาลทหาร การดำเนินคดี "กบฏ 20 มีนาคม 2520" เป็นไปอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด ในวันที่ 21 เมษายน 2520 รัฐบาลได้ใช้อำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 11) พุทธศักราช 2519 ตัดสินลงโทษโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ มีคำสั่งให้ถอดยศและประหารชีวิตนายฉลาด หิรัญศิริ และจำคุกตลอดชีวิตผู้ก่อการที่เหลืออีก 4 คน ซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเพิ่มอีก 8 คน รวมเป็น 12 คน นอกจากนั้นยังมีผู้ได้รับโทษลดหลั่นลงมาอีก 11 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีพลเรือนที่พลเอกฉลาดชักชวนมา อาทิ นายพิชัย วาสนาส่ง, นายสมพจน์ ปิยะอุย, นายวีระ มุสิกพงศ์ ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2520 ส่วน พล.ต.อรุณ ทวาทวศิน ได้รับการเลื่อนยศหลังจากการเสียชีวิตให้เป็นพลเอก หลังจากนั้น รัฐบาลจัดให้มีการสอบสวน จอมพล ถนอม กิตติขจร กับพวก ในข้อหากระทำผิดฐานสั่งฆ่านิสิต นักศึกษา ประชาชน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ปรากฏว่ามีคำสั่งไม่ฟ้อง จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เน

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (52)

"คณะปฏิรูปฯ" และ "รัฐบาลหอย" กับมรสุมลูกแรก กบฏ 26 มีนาคม 2520 ตอนเย็นวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นั่นเอง นายทหารคณะหนึ่งปรากฏตัวขึ้นในนาม "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช โดยให้เหตุผลในคำประกาศว่า เพื่อกอบกู้สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้พ้นจากสถานการณ์อันเลวร้าย จึงยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ยุบรัฐสภา ยกเลิกพรรคการเมือง ประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมทั้งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 01.00 – 04.30 น. จากนั้นในวันที่ 8 ตุลาคม พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นการการสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของประชาชนที่รวมตัวกันล้มระบอบเผด็จการทหาร พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ตั้งคณะรัฐมนต

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (51)

ฉากชุ่มเลือดและคราบน้ำตา ใจกลาง "เกาะรัตนโกสินทร์" 07.00 น. กลุ่มคนติดอาวุธหลากชนิดที่ปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านสนามหลวงตั้งแต่ตอนตีหนึ่งพยายามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยโดยใช้รถบัสสองคันขับพุ่งเข้าชนประตูด้านหน้าหอประชุมใหญ่ ต่อมาก็มีเสียงระเบิดดังขึ้น ไม่ถึง 1 ชั่วโมงหลังจากนั้น ตำรวจหน่วยคอมมานโด หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) และตำรวจท้องที่ ล้อมอยู่โดยรอบมหาวิทยาลัย โดยมี พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ และ พล.ต.ต.ยุทธนา วรรณโกวิท มาถึงที่เกิดเหตุและเข้าร่วมบัญชาการ หลัง 8 นาฬิกาเป็นต้นไป พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ บัญชาการให้ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) อาวุธครบมือบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสภาพที่มีอาวุธสงครามเต็มพิกัด ตั้งแต่เครื่องยิงระเบิด ปืนต่อสู้รถถัง ปืนเอ็ม 79 ปืนเอ็ม 16 ปืนเอช.เค. และปืนคาร์บิน ตำรวจหลายนายมีระเบิดมือในสภาพพร้อมใช้งาน เสียงปืนดังรุนแรงตลอดเวลา ตำรวจประกาศให้นักศึกษายอมจำนน นักศึกษาหลายคนพยายามวิ่งออกมาข้างนอก จึงถูกประชาชนที่อยู่ภายนอกรุมประชาทัณฑ์ นักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมอยู่ข้างในแตกกระจัดกระจายหล

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (50)

6 ตุลาคม 2519 วันสังหารนกพิราบ ในวันที่ 2 ตุลาคม 2519 อันเป็นกำหนดเวลาเส้นตายที่ศูนย์นิสิตฯยื่นต่อรัฐบาล ทางฝ่าย กระทิงแดง ยกกำลังอันธพาลทางการเมืองจำนวนหนึ่งอ้างว่าเพื่อป้องกันการบุกรุกมาตั้งแนวล้อมวัดบวรนิเวศ ปรากฏว่าหลังจากตัวแทนตัวแทนศูนย์นิสิตฯ ไม่ได้รับคำตอบใดจากการเข้าพบนายกรัฐมนตรี จึงกลับออกมาและเรียกประชุมได้ข้อสรุปออกมาเป้นมติให้มีการชุมนุมประชาชนครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในเวลาเย็นวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม ต่อมานับจากช่วงเช้าของวันที่ 4 ตุลาคมนั้นเอง กลุ่มนักศึกษาอิสระในธรรมศาสตร์รวม 21 กลุ่ม เริ่มการรณรงค์ให้นักศึกษางดสอบและเข้าร่วมการประท้วงขับไล่จอมพลถนอม ในการนี้ ชมรมนาฏศิลป์และการละครได้จัดการแสดงละครปลุกเร้าจิตสำนึกทางการเมือง โดยมีฉากหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนถึงช่างไฟฟ้าที่ถูกสังหารที่นครปฐม ปรากฏว่าการรณรงค์ประสบผลจนทำให้มหาวิทยาลัยต้องประกาศเลื่อนการสอบออกไปอย่างไม่มีกำหนด ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น. ประชาชนเริ่มทยอยกันมาชุมนุมที่สนามหลวง แล้วเกิดฝนตก แต่ในขณะเดียวกันมีสัญญาณบ่งบอกว่าในช่วงกลางคืนน่าจะมีการคุกคามโดยกลุ่มที่ต่อต้านนิสิต นักศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มว่าผลักดันโดยขบ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (49)

สถานการณ์วันต่อวัน: คลื่นเหนือน้ำสู่ 6 ตุลาฯ ในวันที่ 25 กันยายน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากลาออกไปเมื่อวันที่ 23 กันยายน นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการศูนย์นิสิตฯ และ นายชัชวาลย์ ปทุมวิทย์ ผู้ประสานงานแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แถลงต่อสื่อมวลชนกรณีฆ่าแขวนคอที่นครปฐม มีการชุมนุมที่จุฬาฯ และตั้งตัวแทนยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการ 2 ประการ คือ 1.จัดการให้พระถนอมออกจากประเทศไทยโดยเร็วที่สุด 2.ให้เร่งจับกุมฆาตกรฆ่าแขวนคอที่นครปฐม ขณะเดียวกับกลุ่มพลังต่างๆที่ต่อต้านขบวนการนักศึกษา ซึ่งเรียกกันว่ากลุ่มจัดตั้งฝ่ายขวาก็ทยอยกันออกหน้าขยายบทบาทอย่างรวดเร็วผิดสังเกต เริ่มจากการที่ ดร.คลุ้ม วัชโรบล นำลูกเสือชาวบ้านประมาณ 200 คน ไปวัดบวรนิเวศฯ เพื่ออาสาป้องกันการเผาวัด เกือบจะในเวลาเดียวกับที่มีการออกข่าวว่า นายไพศาล ธวัชชัยนันท์ ประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้านครหลวงและประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ขอเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเพื่อยื่นหนังสือ แต่ไม่ได้รับอนุญาต และวันรุ่งขึ้น พระเทพกิตติปัญญาคุณ หรือที่เป็น

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (48)

สถานการณ์สร้างได้ เป้าหมายคือจุดวิกฤต รัฐบาลชุดที่ 37 ที่มี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าคณะก็ประสบปัญหาตั้งแต่เริ่มตั้งรัฐบาล แม้บางเรื่องจะเป็นเป็นปัญหาค้างมาแต่รัฐบาลชุดก่อน เช่น การจับกุมตัวผู้ต้องหา 5 คน คดีเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่รัฐบาลชุด นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2518 เพียงเวลาไม่กี่เดือนของรัฐบาลสัญญา 1 หรือที่ได้รับสมญาจากสื่อมวลชนในเวลาต่อมาว่า "ฤาษีเลี้ยงลิง" การเคลื่อนไหวหยั่งกำลังเพื่อเป็นการปูทางไปสู่ปฏิกิริยาและการตอบโต้ปฏิกิริยา ที่มีเกิดขึ้นต่อขบวนการประชาธิปไตยที่พัฒนามาพ้นขอบข่ายของนิสิต นักศึกษาแล้ว หากลงสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะการผนึกกำลังของ 3 กลุ่มพลังในสังคม คือ "นักเรียน นิสิต นักศึกษา และชาวนากับกรรมกร" ซึ่งกล่าวได้ว่ามีขอบเขตทั้งในระดับกว้างและระดับลึกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในระบอบการเมืองการปกครองไทยหลังการอภิวัฒน์สยาม 2475 กรณีสำคัญคือ จอมพลประภาส จารุเสถียร ลอบเดินทางเข้าประเทศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม โดยอ้างว่าจะเข้ามารักษาตา ฝ่ายนักศึกษารณรงค์ให้มีการชุมนุมประชาชนในบริเวณสนามฟุ