ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (54)

หมดเวลา "แกงไก่ใส่บรั่นดี": ฉากแรกสู่อำนาจของ "ป๋า"

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญทางการเมืองชนิดล้มลุกคลุกคลานมาตลอดหลังการรัฐประหาร 2490 ซึ่งเป็นการ "โค่นล้ม" ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ตามความหมายจากการสัมภาษณ์นายปรีดี พนมยงค์ ที่แสดงไว้เมื่อปี 2525 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี "การอภิวัฒน์สยาม 2475" โดยสถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย

จังหวะก้าวทางการเมืองที่มีความมหายและนัยสำคัญ และส่งผลสะเทือนและมีอิทธิพลต่อการเมืองในเวลาต่อมาอีกกว่า 30 ปี คือ การก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองอย่างเต็มตัวของ พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ (ยศในขณะนั้น) จากการได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่มีนายกรัฐมนตรี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นเจ้ากระทรวง ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 (11 พฤศจิกายน 2520 - 21 ธันวาคม 2521) และในเวลาต่อมาในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 41 (12 พฤษภาคม 2522 - 3 มีนาคม 2523) พล.อ.เปรม ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

และโดยที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 พุทธศักราช 2520 จากการรัฐประหาร กำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ดังนั้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2521 จึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งมีบทเฉพาะกาล จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง ทั้งจากนักวิชาการและสื่อสารมวลชน ที่เริ่มขยับตัวได้จากการเผด็จอำนาจเต็มรูปแบบ หลังกรณี 6 ตุลาฯ ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบ "ไม่เต็มใบ" หรือ "ครึ่งใบ"

แต่ถึงกระนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ใช้เป็นกฎหมายปกครองประเทศยาวนานเป็นลำดับที่ 2 คือใช้มาจนถึงปี 2534 รองจากรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งใช้มาจนถึงปี 2489

รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 22 เมษายน 2522 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป แต่เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่สามารถตรากฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองได้ทันก่อนที่จะพ้นหน้าที่ออกไป ดังนั้นในการเลือกตั้งทั่วไปคราวนี้จึงยังไม่มีพรรคการเมือง มีแต่กลุ่มการเมืองซึ่งส่งสมาชิกเข้ารับการเลือกตั้ง 46 กลุ่ม ด้วยกัน ผลการเลือกตั้งมีกลุ่มการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา 15 กลุ่ม กลุ่มที่มีผู้แทนราษฎรมากที่สุดคือ กลุ่มกิจสังคมได้ 82 คน ลำดับที่สองเป็นกลุ่มอิสระหรือไม่สังกัดกลุ่มการเมือง จำนวน 63 คน กลุ่มชาติไทยเป็นลำดับที่สามจำนวน 38 คน และรวมกับกลุ่มอื่นๆ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 301 คน

ขณะเดียวกันก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 225 คน ในวันที่ 22 เมษายน 2522 ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร รวมสมาชิกรัฐสภา 526 คน

รัฐสภาได้เสนอให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองดังนี้ คือ เกษตรกรรมสังคม เสรีธรรม กิจประชาธิปไตย ชาติประชาชน รวมไทย และผู้แทนราษฎรไม่สังกัดกลุ่ม และมีกลุ่มกิจสังคม ชาติไทย ประชากรไทยและประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้าน

จากนั้นจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีร่วมคณะ 43 คณะ รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 7 มิถุนายน 2522 โดยไม่มีการอภิปราย

แต่แล้วเมื่อคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของพล.อ.เกรียงศักดิ์บริหารประเทศไปได้ เพียง 5 เดือน กลุ่มกิจสังคมก็ดำเนินการในฐานะผู้นำขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล 4 กระทรวง ดังนี้

กระทรวงมหาดไทยไม่ สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความไม่สงบสุขของประชาชน ปัญหาอาชญากรรมชุกชุม ปัญหาคนว่างงาน และปัญหาเกี่ยวกับความล้มเหลวในการจัดการศึกษาประชาบาล

กระทรวงคมนาคมบริหาร งานโดยขาดความรับผิดชอบในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของประชาชน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งและโทรคมนาคม ทั้งยังขอเพิ่มค่าบริการเกินความจำเป็น

กระทรวงพาณิชย์ไม่ สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและพาณิชย์ทำให้ภาวะค่าครองชีพสูงขึ้น ไม่สามารถรักษาระดับสินค้าที่จำเป็นแก่การอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับสินค้าที่จำเป็นแก่การอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ไม่สามารถประกันราคาพืชผลให้แก่เกษตร การบริหารงานส่วนใหญ่มีแต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

กระทรวงอุตสาหกรรมไม่สามารถแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันและก๊าซขาดแคลน กับไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งผิดนโยบายของรัฐบาลที่แถลงมา

การเปิดอภิปรายทั่วไป ไม่วางใจกระทำเมื่อวันที่ 12-15 ตุลาคม 2522 ในการลงมติในวันที่ 16 ปรากฏว่ามติไม่ไว้วางใจมีไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ญัตติจึงตกไป

แต่แล้วในท่ามกลางความผันผวนในทางเศรษฐกิจภายในประเทศจนตั้งมีการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณูปโภคบางรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทันทีที่รัฐบาลผ่านการลงมติไว้วางใจ ก็ตัดสินใจอนุมัติให้ขึ้นราคาค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปาทั่วประเทศอีก 50 % เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2522 ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอญัตติขอให้มีการพิจารณาทบทวน และเรียกร้องให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบลาออก รัฐบาลจึงต้องระงับการขึ้นราคาสาธารณูปโภคดังกล่าวไว้ก่อน

สำหรับปัญหาใหญ่ที่คงคู่กับการบริหารราชการแผ่นดินมายาวนาน คือปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งก่อให้เกิดแรงกดดันต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล กระทั่งมีรัฐมนตรียื่นใบลาออก 3 คน ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2522 และลาออกอีก 1 คน ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2523 และนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2523 ซึ่งในจำนวนคณะรัฐมนตรี 38 คน ปรากฏว่ามาจากสมาชิกผู้แทนราษฎรเพียง 3 คนเท่านั้น

ครั้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 ในที่ประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งต่อรัฐสภา เป็นการดักหน้าการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามมาตรา 137 ของรัฐธรรมนูญ 2521 ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยมีประเด็นสำคัญอยู่ที่การประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างกะทันหันในราคาที่สูงเกินไป ประชาชนเดือดร้อน

ต่อมาในการลงมติการคัดเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ซึ่งกระทำ ณ รัฐสภาในวันที่ 3 มีนาคม 2523 ผลคือพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์.


พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข วันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน 2553
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (56)

เรื่องของ "เปรม": เส้นทางที่ไม่ได้เลือก? รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการรวบรวมและดำเนินคดีในฐานะกบฏคณะบุคคลทั้งทหารและพลเรือน รวมทั้งประกาศให้ให้ผู้ร่วมก่อความไม่สงบรายงานเข้ารายงานตัว จนถึงเวลาที่กำหนดเป็นเส้นตาย มีผู้รายงานตัวครบ 289 คน เป็นพลเรือน 110 คน เช่น นายรักศักดิ์ วัฒนาพานิช และ นายบุญชนะ อัตถากร ตำรวจ 25 คน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และทหาร 154 คน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกลุ่มทหารหนุ่มที่เรียกว่า "ยังเติร์ก (Young Turk)" ทั้งนี้เป็นการเรียกขานกันโดยมีที่มาจากขบวนการปัญญาชนหัวใหม่ปลายยุคอาณาจักรออตโตมาน ที่ลุกขึ้นปฏิวัติประชาธิปไตยระหว่างปี ค.ศ. 1876 ถึงปี ค.ศ. 1923 ผู้นำคนสำคัญคือ มุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) ซึ่งก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ ใน "สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation)" ช่วงปี ค.ศ. 1919-1923 จนเกิด สาธารณรัฐตุรกี จึงมีชื่อเรียกความพยายามทำรัฐประหารครั้งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "กบฏยังเติร์ก" ในจำนวนแกนนำระดับหัวหน้าผู้ก่อการคนสำคัญที่เดินทางออกนอกประเทศ พ.อ.มนูญ รูปขจร ลี

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (39)

เสียงเพลงก้องฟ้า "สู้ไม่ถอย": ถนนทุกสายมุ่งสู่ธรรมศาสตร์ เช้าวันที่ 10 ตุลาคม นิสิตนักศึกษาจากสถาบันในเขตกรุงเทพฯ รวมทั้งนักเรียนระดับอาชีวศึกษาทั้งช่างกลและช่างก่อสร้าง รวมทั้งนักศึกษาจากวิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยครูธนบุรี ทยอยเข้าสมทบการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะที่ตัวแทนจากวิทยาลัยครูสวนสุนันทาและวิทยาลัยวิชาการศึกษา มาแจ้งว่ากำลังส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างเดินทาง นับเป็นครั้งแรกที่นักเรียนอาชีวะประกาศตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง เวลา 10.30 น. จอมพลถนอม กิตติขจร จัดแถลงข่าวว่ามีการพบเอกสารล้มล้างรัฐบาลและโปสเตอร์ที่ไม่ได้มุ่งหมายจะเรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างเดียว รวมทั้งเอกสารของพรรคคอมมิวนิสต์ จึงตั้งข้อหาเพิ่มในฐานะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงต่อรัฐ และมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ช่วงบ่าย ตัวแทนนักเรียนนิสิตนักศึกษาขึ้นเวทีที่บริเวณลานโพธิ์ ประกาศงดการเข้าสอบประจำภาคทุกสถาบัน โดยจะยืนหยัดเรียกร้องจนกว่าผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คนจะได้รับความเป็นธรรม สลับกับการร้องบทเพลงแห่งการต่อสู้ "สู้ไม่ถอย" ที่แต่งโดย นา

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (55)

1 ปีรัฐบาลเปรม 1-2: "กบฏเมษาฮาวาย" พ่าย หลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายกรัฐมนตรี ผลงานลำดับแรกของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือการแจ้งแก่กลุ่มการเมืองต่างๆในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันหารือเสนอรายชื่อตัวบุคคลเข้าร่วมคณะรัฐมนตรี โดยจะให้มีรัฐมนตรีร่วมคณะน้อยที่สุด เพื่อจัดตั้งรัฐบาลภายใน 15 วัน ซึ่งในที่สุดวันที่ 12 มีนาคม 2523 จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีรวม 37 คน พลเอกเปรมกล่าวปราศรัยต่อประชาชนทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ทุกเครือข่าย ก่อนที่จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเพื่อขอความไว้วางใจ ในวันที่ 29 มีนาคม 2523 เพื่อที่จะเข้าแบกรับภารกิจการบริหารประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากนายทหารระดับผู้บัญชาการเหล่าทัพ และเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาแล้ว 2 กระทรวงตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ หนึ่งในปัญหาหลักของคณะผู้บริหารประเทศในช่วงเวลาคาบเกี่ยวการสิ้นสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ดำเนินสงครามประชาชนอยู่ในเขตป่าเขามาตั้งแต่ปี 2508 นั้น ย่อมหนีไม่พ้น ปัญหาการการขับเคี่ยวกันระหว่างรัฐบาลกับกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ที่รัฐบาลหลังกา