ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2012

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (33)

สฤษดิ์ ธนะรัชต์: นายกรัฐมนตรีจนวาระสุดท้าย สำหรับที่มาของฉายา "จอมพลผ้าขาวม้าแดง" ซึ่งเจ้าตัวภูมิใจนักหนา ทั้งนี้เพราะมีที่มาจากการเป็นอาภรณ์เพียงชิ้นเดียวสำหรับต้อนรับ "สาวแก่แม่ม่าย" (ผู้มักจะได้รับการปรับสถานภาพเป็น "อนุภรรยา" ในเวลาต่อมา) ที่คนสนิทพามาพบที่ "วิมานสีชมพู" อันเป็นบ้านพักหลังกองพล 1 หรือกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล 1 รอ.) ซึ่ง "จอมพล 3 คนสุดท้ายของราชอาณาจักรไทย" เคยมาเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาทังสิ้น คือ พลตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2491-2493) พลตรี ถนอม กิตติขจร (พ.ศ.2493-2495) และ พลตรี ประภาส จารุเสถียร (พ.ศ.2495-2500) ผลประการหนึ่งจากนโยบาย "เชือดไก่ให้ลิงดู" ของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นเหตุให้ขบวนการนิสิตนักศึกษายุคหลังกึ่งพุทธกาล ตกอยู่ในสภาพชะงักงันต่อเนื่องกว่า 1 ทศวรรษ เป็นการยุติบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลจากช่วงก่อนหน้านั้นนับจากปี 2490 จนถึงการชุมนุมเดินขบวนคัดค้าน "เลือกตั้งสกปรก 26 กุมภาพันธ์ 2500" โดยสิ้นเชิง ถึงขนาดนายกรัฐมนตรีกล่าวชมเชยในการปราศรัยแสดงความยินดีต่อบัณฑิต 2503 ข

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (32)

สฤษดิ์กับมาตรา 17: เป้าหมายคือปราบปรามประชาชน แม้จะดูเหมือนว่าในทางนิติ-รัฐศาสตร์ อำนาจทางการเมืองของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะมาจาก ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2502 แต่โดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ รากฐานอำนาจอย่างแท้จริงของ "จอมพลผ้าขาวม้าแดง" นั้นมาจาก "ปากกระบอกปืน" นั้นคือคืออำนาจทางการทหาร หรือชี้ชัดลงไปได้โดยไม่อ้อมค้อมว่า มาจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกนั่นเอง จะเห็นได้ว่าตลอดเวลา 5 ปีเศษในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะปฏิวัติ 2 ตำแหน่งสูงสุดสำหรับข้าราชการทหารที่ไม่วางใจให้บริษัทบริวารคนใดรับช่วงไปถือบังเหียนแทน คือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดร.เสนีย์ คำสุข ได้ วิเคราะห์และสังเคราะห์ลักษณะของผู้นำทางการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยระบุว่า "เป็นช่วงของการเมืองไทยยุค 'พ่อขุนอุปถัมภ์' เผด็จการ และเผด็จการทหารอำนาจนิยม หลังจากจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจแล้ว เน้นการปกครองบริหารราชการ แผ่นดินแบบระบบพ่อขุน กล่าวคือ ระบบการเมืองประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1.รัฐบาล 2.ข

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (31)

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501: เมื่อทหารเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองโดยการรัฐประหารเมื่อ 16 กันยายน 2500 แล้วก็แต่งตั้งให้ นายพจน์ สารสิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี นายพจน์เริ่มบทบาททางการเมืองจากการเป็นสมาชิกวุฒิสภาด้วยการสนับสนุนของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อปี 2490 และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี 2491 และต่อมาในปี 2492 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี 2495-2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและทำ หน้าที่ผู้แทนประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ และในเดือนกรกฎาคม 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) จากภูมิหลังดังกล่าวที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับสหรัฐ เป็นข้องบ่งชี้ถึงการการสร้างความชอบธรรมเพื่อรับรองรัฐบาลที่เกิดจากการทำรัฐประหารในยุคสงครามเย็น สำหรับการเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายพจน์นั้น ภารกิจสำคัญคือการพยายามสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากโลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความเ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (30)

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500: ฉากเปิดยุคมืดประชาธิปไตย ในเดือนเมษายน 2500 กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและกองทัพภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มเคลื่อนไหวเตรียมแผนรัฐประหาร โดยมีแกนนำสำคัญเข้าประชุมร่วมกับกองทัพ เช่น กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ) ประธานองคมนตรี, ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (กุล ลดา เกษบุญชู มี้ด , การเมืองไทยในยุคสฤษดิ์-ถนอม ภายใต้โครงสร้างอำนาจโลก. กองทุนปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2550 ,หน้า 35) ไม่นานจากนั้นก็เริ่มเปิดฉากโจมตีรัฐบาลผ่านหนังสือพิมพ์ของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม (สยามรัฐ) และพรรคฝ่ายค้าน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคสหภูมิ ที่สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์โดยตรง ซึ่งแยกตัวมาจาก พรรคเสรีมนังคศิลา มี นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายสงวน จันทรสาขา (น้องต่างมารดาของจอมพลสฤษดิ์) เป็นเลขาธิการฯ (ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเดือนธันวาคม 2500 ก็มี การสลายพรรคสหภูมิมาเป็น พรรคชาติสังคม ซึ่งมี จอมพลสฤษดิ์เป็นหัวหน้าพรรค มี พล.ท.ประภาส จารุเสถียร เป็น เลขาธิการฯ) เค้าล้างของการ &quo

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (29)

เลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500: การเริ่มต้นของจุดจบระบอบ "ป." นับจากปี 2497 สำหรับความเป็นผู้นำที่ต้องสวมบทบาท "ผู้เผด็จอำนาจ" จากวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในปี 2495 ที่อยู่ในสภาวะค่อนข้างล่อแหลม จอมพล ป. พยายามหลายครั้งยื่นข้อเสนอให้จอมพลผิน ชุณหะวัณ สืบทอดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแก่ตนเอง โดยให้เหตุผลเป็นการส่วนตัวว่าให้ผู้อื่นมาครองตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกจะส่งผลต่อ "ความมั่นคง" ของทั้งหัวหน้าคณะรัฐบาลที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารและรวมทั้งหัวหน้าคณะรัฐประหารคือตัวจอมพลผินไปพร้อมกัน ทว่าจอมพลผินกลับตัดสินใจมอบตำแหน่งให้ พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พร้อมกับได้รับพระราชทานยศชั้นจอมพล เนื่องจากในขณะนั้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเท่ากับจ่อคิวรอตำแหน่งนี้อยู่ในทีแล้วแล้ว อีกทั้งในช่วงที่ร่วมกันทำรับประหารนั้นยังเป็นผู้คุมกำลังที่สำคัญ (กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์) และเมื่อมีการทำรัฐประหารซ้อนที่กลายเป็นการก่อกบฏถึง 3 ครั้ง คือ กบฏเสนาธิการ กบฏวังหน้า และ กบฏแมนฮัตตัน พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็เป็นกำลังสำคัญ ที่รับหน้าที่เข้าปฏิบัติการอย่างแ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (28)

ป. พิบูลสงคราม 2495-2500: วัฏจักรแห่งการเผด็จอำนาจ ภายหลังการรัฐประหาร 2494 ตามมาด้วยการกวาดล้างพลังประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วยปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้า ที่ประกอบไปด้วยนักคิดนักเขียน และนิสิตนักศึกษา ตลอดจนนักการเมืองที่มีอุดมการณ์สร้างสรรค์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ไปในแนวทางเดียวกับ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำขบวนการเสรีไทย อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 อันนำไปสู่การกลับเข้ามามีอำนาจทางการเมืองของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้น แม้โดยตำแหน่งจะมีชื่อเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร แต่ก็หาได้อยู่ในฐานะ "ท่านผู้นำ" มีอำนาจสั่งการเด็ดขาดเช่นในช่วงก่อนและระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา เนื่องจากคราวนี้ จอมพล ป. เป็นนายทหารนอกประจำการ ที่มีเพียงสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่า "บารมี" ส่วนตัวในฐานะที่เป็น "สัญลักษณ์" (symbol) ในหมู่ทหารเท่านั้น ทั้งนี้กลุ่มพลังในลักษณะ "สามเส้า" ที่ค้ำอำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. ประกอบด้วย 1. กลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นอดีตนายทหารที่เคยร่วมงานกันมา อาทิเช่น พล.ต.ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลย์ภานุวัฒน์, พล.ต.เภา

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (27)

กบฏสันติภาพ 2495: คิดต่างคือความผิดร้ายแรง การกล่าวถึง "กบฏสันติภาพ" ซึ่งเป็นการกวาดล้างนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ตลอดจนปัญญาชน นิสิต นักศึกษาจำนวนมากในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 นั้นจำต้องย้อนความไปในช่วงปลายปี 2493 เมื่อมีการเคลื่อนไหวรณรงค์สันติภาพ โดยออกหนังสือพิมพ์ "การเมือง" ที่มี นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และ นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นเจ้าของ โดยมี นายอัศนี พลจันทร และ นายเสนาะ พาณิชเจริญ เป็นผู้ดูแลการผลิตหนังสือพิมพ์ และใช้ชื่อ นายแพทย์เจริญ สืบแสง จดทะเบียนเป็นเจ้าของผู้พิมพ์โฆษณา หนังสือพิมพ์ "การเมือง" ดำเนินการรณรงค์สันติภาพด้วยการเรียกร้องให้ลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง สันติภาพสตอกโฮล์ม ภายใน 5 สัปดาห์สามารถระดมรายชื่อได้ถึง 38,315 รายชื่อ ซึ่งกว่า 2,000 ชื่อในนั้นมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในเวลา 2 เดือนก็สามารถหารายชื่อได้มากกว่า 150,000 รายชื่อ ต่อมาในวันที่ 22 เมษายน 2494 มีการจัดประชุมลับบนเรือที่ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณ 30 คน โดยมีตัวแทนจากหลากหลายอาชีพ ทั้งพระ ชาวนา นักหนังสือพิมพ์ นักศึกษา และกรรมกร ที่ประ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (26)

รัฐประหารตัวเอง 2494: อำนาจที่แบ่งให้กันไม่ได้ การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ของคณะทหารที่เรียกตนเองว่า "คณะบริหารประเทศชั่วคราว" ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการ "รัฐประหารตัวเอง" หรือเป็นการ "ยึดอำนาจของตัวเอง" เพื่อจัดการกับ "หนามยอกอก" หรืออาการ "ขัดขา" ในการบริหารราชการแผ่นดิน ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน อันมีสาเหตุมาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 การกลับมาของจอมพล ป.ขึ้นสู่อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง ในเดือนเมษายน 2491 มีผลทันทีในการเผชิญหน้ากันของสองขั้วอำนาจระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยม กับผู้นำคณะรัฐประหารซึ่งอีกสถานะหนึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐธรรมนูญ 2492 ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็น "รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม" โดยผู้ร่างส่วนใหญ่เป็นขุนนางในระบอบเก่าและนักกฎหมายอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม คณะ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี้ ประกอบด้วย เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ, พระยาศรีวิสารวาจา, พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี, พระยาอรรถการียนิพนธ์,

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (25)

ธรรมศาสตร์สามัคคี 2494: โดมของเรา ชีวิตของเรา… หลังกบฏแมนฮัตตัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตกเป็นเป้าว่าให้ความร่วมมือกับทหารเรือฝ่ายกบฏ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามประกาศกฎอัยการศึก ห้ามชุมนุมทางการเมือง และปิดพร้อมกับส่งทหารเข้ายึดมหาวิทยาลัยโดยให้เหตุผลว่า "ขอยืมใช้เป็นสถานที่ชั่วคราว และเพื่อความสงบเรียบร้อย" ต่อมาคณะกรรมการนักศึกษามีมติร่วมกันผลักดันให้ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนชั่วคราว โดยขอใช้สถานที่ของเนติบัณฑิตยสภาและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาฯ สำหรับการบรรยายให้นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ตามหลักสูตรคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ ทั้งนี้ ในช่วงเย็นนักศึกษาและอาจารย์ต้องอาศัยเพียงแสงตะเกียงสำหรับการเรียนการสอน นักศึกษา มธก. (มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) ฝ่ายก้าวหน้า 9 คนที่มีจิตใจรักในเสรีภาพและความเป็นธรรม ได้เดินทางไปบ้านรองนายกรัฐมนตรี พลตรีสวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ์ เจรจาขอมหาวิทยาลัยคืนกลับมาสู่การเรียนการสอนตามปรกติ แต่แล้วหนึ่งสัปดาห์ถัดมาก็มีประกาศของทางมหาวิทยาลัยออกมา

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (24)

กบฏแมนฮัตตัน 2494: ความพยายามครั้งสุดท้าย? จากความพ่ายแพ้ของฝ่ายทหารเรือถูกปราบปรามครั้งแล้วครั้งเล่า และความความพยายามที่ไม่บรรลุผลในทางปฏิบัติหลายครั้ง กลุ่มทหารเรือมีความเห็นว่าหากทอดเวลาปฏิบัติการออกไปเรื่อยๆ ข่าวของคณะกู้ชาติคงจะต้องเข้าหูรัฐบาลเข้าจนได้ จึงรวบรวมกำลังกันเข้าอีกครั้ง รวมทั้ง พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ นายทหารนอกราชการ อดีตผู้บังคับการกรมนาวิกโยธิน แกนนำคนสำคัญในคราวกบฏวังหลวง และกำหนดวันปฏิบัติการเป็นวันที่ 29 มิถุนายน จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะประกอบพิธีรับมอบเรือขุดแมนฮัตตัน ที่ท่าราชวรดิษฐ์ ตรงข้ามกับกองบัญชาการกองทัพเรือ ซึ่ง น.ต.มนัส จารุภา ให้เหตุผลไว้ในหนังสือ "เมื่อข้าพเจ้าจี้จอมพล" ไว้ว่า ประการแรก กำลังฝ่ายรัฐบาลจะใช้ออกมาสู้รบนั้นมีจำนวนลดลง เพราะได้ปล่อยทหารกลับภูมิลำเนา ไม่มีกำลังพอจะออกมาทันท่วงที ต้องใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมงในการเคลื่อนกำลัง ผิดกับฝ่ายก่อการที่มีกำลังทหารนาวิกโยธินใช้เป็นกำลังหลักครบตามอัตราเพราะยังไม่ได้ปลดปล่อยทหารไป ประการที่สอง การควบคุมตัวบุคคลที่เราต้องการทำได้ง่าย เพราะอยู่ในพื้นที่ที่ น.อ.อานนท์ ปุณฑริกาภา สามารถสั

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (23)

ทหารเรือกู้ชาติ: ผิดแผนแต่ไม่ยอมแพ้ หลังจากควันหลงการกวาดล้างปราบปรามกบฏวังหลวงค่อยจางลง ส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองของไทยคืนสู่ความสงบเรียบร้อยอยู่ระยะหนึ่ง พร้อมกับประชาชนชาวไทยพากันใจจดใจจ่ออยู่กับพระราชพิธีสำคัญ เริ่มจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้น ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชทูตประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ พลเอก พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) และหม่อมหลวงบัว กิติยากรเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 และเสด็จขึ้นสู่พระราชพิธีอภิเษกสมรส เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ต่อมาวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นสู่พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทว่าในท่ามกลางบรรยากาศที่ดูเหมือนจะเงียบสงบนั้นเอง กลับแฝงไปด้วยความปั่นป่วนที่ก่อตัวในลักษณะคลื่นใต้น้ำในฝ่ายทหารเรือ อันมีสาเหตุสืบเนื่อง 3 ประการ คือ ความตึงเครียดระหว่างทหารบกและตำรวจกับทหารเรือต่อเนื่องมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่ทหารบกสนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทหารเรือสนับสนุน นายปรีดี พนมยงค์ ส่วนตำรวจนั้นมีปัญหาการกระทบกระทั่งกับทหารเรือและกล่าวห

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (22)

การไล่ล่ากวาดล้างกบฏ และคดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี นับแต่ กบฏบวรเดช เป็นต้นมา การปราบกบฏแทบทุกครั้งไม่มีการเสียเลือดเนื้อของทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ก่อการแต่อย่างใด เนื่องจากฝ่ายกบฏยอมจำนนแต่โดยดี สำหรับการรบพุ่งกันในกรณีกบฏบวรเดชนั้น เกิดขึ้นที่ชานพระนครและในต่างจังหวัด เกือบจะเรียกได้ว่าราษฎรไม่รู้ไม่เห็นสภาพการทำสงครามกลางเมืองย่อยๆเข้าใส่กัน แต่กบฏวังหลวงการต่อสู้เกิดในใจกลางเมืองหลวง มีการนองเลือดกันอย่างแท้จริง ราษฎรทั่วไปในเขตพระนครโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สู้รบต้องอกสั่นขวัญแขวนและสับสนกับเหตุการณ์นี้ เหนือสิ่งอื่นใด รัฐบาลจอมพล ป. มีจุดมุ่งหมายแน่วแน่ที่จะโค่นอำนาจและอิทธิพลทางความคิดการเมืองนายปรีดีด้วยการกวาดล้างอดีตพลพรรคขบวนการเสรีไทยที่ร่วมปฏิบัติการกู้ชาติซึ่งมีความเคารพศรัทธาในตัวนายปรีดี อย่างชนิดถอนรากถอนโคน เพียงแค่สงสัยใครเป็นพวกนายปรีดี บุคคลนั้นก็ชะตาขาดเสียแล้ว หลังจากฝ่ายกบฏยอมประกาศยอมรับความพ่ายแพ้และแยกย้ายกันหลบหนีตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2492 ฝ่ายรัฐบาลยังจัดกำลังปฏิบัติการล่าสังหารอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นลั

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (21)

กบฏวังหลวง 2492: รบกันใจกลางพระนคร ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2492 นายปรีดี พนมยงค์ พร้อมด้วย เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช ลอบกลับเข้าประเทศหลังจากที่ลี้ภัยไปเมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 หลังจากดำเนินการติดต่ออย่างลับๆมาก่อนหน้า เพื่อรวบรวมกำลังอันประกอบด้วยกับคณะนายทหารเรือ และอดีตเสรีไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเรียกตัวเองว่า "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" จากนั้นตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดบ้านเขาชลบุรี อันเป็นเขตทหารเรือ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ซ่องสุมกำลังของเสรีไทย แต่ปฏิบัติการที่มีหลายฝ่ายเข้าร่วมนี้ไม่อาจปกปิดเป็นความลับจากหูตาของฝ่ายรัฐบาลได้ ทำให้สามารถเตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันก่อการ เวลาประมาณ 16.00 น. ของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 นายปรีดีนำกำลังอดีตพลพรรคเสรีไทยประมาณ 60 คน รวบรวมเอาอาวุธที่สะสมไว้ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นเมื่อคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา เข้ายึดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นกองบัญชาการ สำหรับนายทหารเรือซึ่งสนับสนุนนายปรีดี ก็มี พล.ร.ต.สังวร สุวรรณชีพ , พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ ผู้บัญชาการนาวิกโยธินสัตหีบ, พล.ร.ต.ชาลี สินธุโสภณ ผ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (20)

กบฏเสนาธิการ 2491: กบฏทหารประชาธิปไตย จากการรัฐประหารซ้ำซ้อนในห้วงเวลาสั้นๆ ส่งผลให้กลุ่มนายทหารสายเสนาธิการก่อรูปแนวความคิดไม่ยอมรับกับการที่ฝ่ายคณะรัฐประหารหนุนให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และเห็นว่าการที่นายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองนั้นทำให้กองทัพเสื่อมเสียเกียรติภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ต้องการให้กองทัพตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใครหรือกลุ่มบุคคลใด จึงร่วมปรึกษาหารือหาทางล้มอำนาจของคณะรัฐประหาร เพื่อให้ทหารกลับเข้ากรมกอง ผู้คิดก่อการที่เรียกกันว่า "กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491" นับได้ว่าเป็นนายทหารกลุ่มแรกในกองทัพบกที่ต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามและต้องการปฏิรูปกองทัพบกเสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพทันสมัยและขจัดการเล่นพรรคเล่นพวก ซึ่งในขณะนั้นการเลื่อนยศและตำแหน่งมีลักษณะตอบแทนผู้เข้าร่วมรัฐประหาร มิได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของกองทัพโดยรวมแม้แต่น้อย คณะผู้วางแผนก่อการประกอบด้วยนายทหารฝ่ายเสนาธิการ นำโดย พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม พล.ต.เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก และ พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (19)

รัฐประหาร 6 เมษายน 2491: ฉากแรกของระบอบฟาสซิสต์ คณะรัฐประหารนำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ประกาศแต่งตั้งให้ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 สำหรับพล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ในชั้นแรกหลบไปเก็บตัวอยู่ในฐานทัพเรือสัตหีบ โดยหวังจะอาศัยความคุ้มครองและสนับสนุนจากกลุ่มนายทหารเรือ จนวันที่ 23 ธันวาคม คณะรัฐประหารจึงออกหมายจับพล.ร.ต.ถวัลย์ในข้อหามีแผนการต่อต้านรัฐบาล ทั้งยังจับกุมอดีตรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาล อีกหลายคน เช่น นายทองเปลว ชลภูมิ และ นายวิจิตร ลุลิตานนท์ เป็นต้น จนถึงวันที่ 6 มกราคม 2491 รัฐบาลรักษาการ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐประหาร จึงจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงสูงสุดในสภาฯ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะหัวหน้าพรรค จึงได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม ระหว่างนั้น ความไม่พอใจรัฐบาลไทยของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูที่ก่อตัวมานับแต่การยกเลิกระบบสุลต่านหรือเจ้าผู้ครองนครมาเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 และทวีความรุนแรงขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งความอด

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (18)

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490: รากฐานระบอบเผด็จการขุนศึก เมื่อรัฐบาลพรรคแนวรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคสหชีพเข้าบริหารประเทศ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยการจัดตั้ง "องค์การสรรพาหาร" ขึ้นมาซื้อของแพงมาจำหน่ายในราคาถูกเพื่อตรึงราคาสินค้า เรียกเก็บธนบัตรที่ฝ่ายสัมพันธมิตรนำเข้ามาใช้จ่าย และออกธนบัตรใหม่ให้แลก รวมทั้งนำเอาทองคำซึ่ง เป็นทุนสำรองของชาติออกขายแก่ประชาชน ทว่ารัฐบาลและรวมทั้งตัวนายกรัฐมนตรีกลับถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นในการส่งข้าวชั้นดีออกขายนอกประเทศ เหลือแต่เพียงข้าวหักสำหรับเลี้ยงสัตว์ไว้ให้ประชาชนบริโภคเองในประเทศ ทำให้ฝ่ายค้านโดยพรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ติดต่อกัน คือระหว่างวันที่ 19 - 26 พฤษภาคม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ แม้จะได้รับความไว้วางใจ แต่กระแสกดดันที่รุนแรงทั้งในและนอกสภาฯ ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น และได้รับเลือกกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อทันทีในวันถัดมา จากความแตกแยกกันเองในหมู่นักการเมืองและประชาชนหลังเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 ปร