ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2011

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (12)

เกลือเป็นหนอน "กบฏนายสิบ 2478" ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยล้มเหลวซ้ำสอง ผลจากความพ่ายแพ้ในความพยายามการก่อการเพื่อฟื้นพระราชอำนาจแห่งการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระปกเกล้าฯ ด้วยการก่อกบฏที่นำโดย พระองค์เจ้าบวรเดช (หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร) และเผชิญกับการปราบปรามอย่างรุนแรง มีผู้ถูกจับกุมจำนวนหนึ่งทั้งเจ้านายและสามัญชน จนในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ ก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ที่จงรักภักดีต่ออดีตพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก ความกระทบกระเทือนใจนี้ได้ก่อตัวขึ้นเป็นความเจ็บแค้นในหมู่นายทหารชั้นประทวนกลุ่มหนึ่งคิดวางแผนยึดอำนาจการปกครอง โดยการประกาศเจตนารมณ์อย่างลับๆ อ้างว่าเพื่อคืนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถวายสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การก่อการครั้งนี้แตกต่างจากการอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน และกบฏบวรเดชที่เพิ่งถูกปราบปรามลงอย่างราบคาบเพียงประมาณปีเศษที่ผ่านมานั้น คือ เป็นการดำเนินงานนายทหารชั้นประทวน ที่ประกอบด้วยกลุ่มนายสิบจากหลายหน่วยระดับกองพันทหารบก ซึ่งทหารชั้นประทวนเหล่านี้ชั้นยศสูงสูสุดคือ "จ่านายสิบ" นับเป็

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (11)

ความขัดแย้งหลังปราบกบฏ พระปกเกล้าฯสละราชสมบัติ ท่ามกลางความเห็นที่ไม่ต้องตรงกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับรัฐบาลสยามในเวลานั้น พระองค์ได้พระราชทานพระราชบันทึกมายังรัฐบาลรวม 2 ฉบับ เมื่อเดือน กันยายน 2477 คือ พระราชบันทึกฉบับที่ 1 ทรงขอร้องมา 3 ประการคือ (1) ให้งดเว้นว่ากล่าวคดีกบฏสำหรับหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ และนายทหารรักษาวัง (2) งดการเลิกทหารรักษาวัง (3) ให้งดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกระทรวงวังใหม่ พระราชบันทึกฉบับที่ 2 ทรงขอร้องมารวมทั้งสิ้น 4 ประการด้วยกันคือ (1) ให้ยอมตามข้อขอร้องทั้ง 3 ข้อ ในพระราชบันทึกฉบับที่ 1 (2) ให้บุคคลต่างๆในรัฐบาล เลิกกล่าวร้ายทับถมการงานของพระราชวงศ์จักรีอย่างเข้มงวด (3) แสดงความเคารพนับถือในองค์พระมหากษัตริย์โดยชัดเจน (4) พยายามระงับความไม่สงบต่างๆ โดยตัดไฟคือ ก. ไม่ดำเนินโครงการเศรษฐกิจแบบโซชะลิสต์หรือสังคมนิยมอย่างแรง ข. ลดหย่อนผ่อนโทษ นักโทษการเมือง ทว่าหลังจากการโต้ตอบกันไปมาทาง หนังสือหรือโทรเลขดำเนินไประยะหนึ่ง โดยทางรัฐบาลพันเอกพระยาพหลฯ เห็นว่าไม่สามารถทำความเข้าใจระหว่างกันให้แจ่มแจ้งชัดเจนได้ จึงส่งผู้แทนเดินทางในเดือนพฤศจิกา

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (10)

พระปกเกล้าฯเสด็จนิราศราชอาณาจักร กับงานศพสามัญชน ณ ท้องสนามหลวง สถานการณ์ระหว่าง 2 ฝ่ายภายหลังการสู้รบในกบฏบวรเดชยังคงความคุกรุ่นแม้ฝ่ายกบฏจะวางอาวุธยอมจำนน มีการถูกจับกุมคุมขังในฐานะกบฏหรือนักโทษการเมืองจำนวนมาก ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในฐานะองค์พระประมุขแห่งรัฐในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญกับรัฐบาลคณะราษฎร เพิ่มทวีความเห็นที่ไม่ลงรอยและความไว้วางใจระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ปมเหตุสำคัญคือ แม้ว่าพระบทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะทรงพยายามแสดงออกว่าวางพระองค์เป็นกลางในเหตุการณ์กบฏ แต่สถานการณ์โดยรวมช่วงรอยต่อของการลุกขึ้นก่อกบฏโดยกำลังทหารจากหัวเมือง ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอของฝ่ายกบฏที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระราชอำนาจของกษัตริย์ ตลอดจนรายพระนามและรายชื่อผู้มีส่วนเข้าร่วมกับกบฏ ล้วนมีข้อบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ในการมองเชื่อมโยงพระองค์เข้ากับฝ่ายกบฏ จนรัฐบาลและสมาชิกฝ่ายนำในคณะราษฎรเห็นพ้องกันว่ากบฏครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพระปกเกล้าฯ ยิ่งการที่พระองค์ปฏิเสธที่จะเสด็จกลับพระนครในขณะที่เกิดการสู้รบกับฝ่ายกบฏอยู่นั้น ยิ่งทำให้รัฐบาลคณ

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (9)

ความลังเล ความแตกแยก สู่จุดจบของฝ่ายกบฏบวรเดช ในวันที่ 16 ตุลาคม หลังจากกองกำลังฝ่ายกบฏมาถึงปากช่องในสภาพขวัญและกำลังใจระส่ำระสายอย่างหนัก มีไพร่พลทั้งนายทหารและพลทหารแตกทัพไปสวามิภักดิ์กับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการปรับเปลี่ยนยุบหน่วยกำลังทั้งทหารราบ ทหารม้า และทหารปืนใหญ่ โดยลดหน่วยจาก 2 กองพันลงมาเหลือเพียง 1 กองพัน ยิ่งไปกว่านั้น ทหารราบ ร. พัน 17 จากอุบล ซึ่งได้รับคำสั่งให้เป็นหน่วยสนับสนุน รักษาเมืองโคราช กลับยกหน่วยกลับฐานที่อุบล ทั้งยังรื้อทำลายแผงสะพานรถไฟจากสถานีจันทึกถึงสถานีโคราชจนเสียหายใช้การไม่ได้เพื่อป้องกันการติดตาม ยิ่งทำให้กองกำลังฝ่ายกบฏตกอยู่ในอาการละล้าละลังยิ่งขึ้น และในเวลาไล่เลี่ยกัน ร. พัน 18 (อุดรธานี) พอได้ข่าวว่าทหารปฏิวัติแตกทัพมาดงพระยาเย็นก็เลยแปรพักตร์เป็นทหารรัฐบาลอีกหน่วย ระหว่างนั้น พันตำรวจเอก พระขจัดทารุณกรรม (ผบ. ตำรวจภูธร) และ พันตำรวจตรี หลวงสุนทรพิทักษ์เขต (รองผบ. ตำรวจภูธร) เชลยที่ฝ่ายกบฏบวรเดชจับกุมตัวเอาไว้ ฉวยโอกาสหนีตามทหารอุบล เพื่อสั่งการให้ตำรวจในอีสานตอนล่างแปรสภาพเป็นกำลังของรัฐบาล 17 ตุลาคม สถานการณ์ของฝ่ายกบฏในแนว

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (8)

กองทัพประชาธิปไตยโจมตีตลอดแนว กองกำลังกบฏบวรเดชระส่ำระสาย จากนั้นฝ่ายรัฐบาลได้ส่ง พันตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) เป็นตัวแทนไปเจรจาให้ฝ่ายก่อการกบฏยอมปลดอาวุธและถอนกำลังกลับเข้าที่ตั้ง ซึ่งฝ่ายกบฏปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ทั้งยังสั่งจับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลไว้เป็นเชลยเป็นการตอบโต้การจับกุมตัว นาวาโท พระแสงสิทธิการ ครั้นราวตอนเที่ยงของวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 13 ตุลาคม ฝ่ายกบฏก็ส่ง พันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ (หลง สินสุข) เจ้ากรมอากาศยาน พันโท พระเทเวศร์อำนายฤทธิ์ (ประเสริฐ อินทุเศรษฐ์) ผู้ช่วยเจ้ากรมอากาศยานฝ่ายยุทธการ และ เรืออากาศเอก เสนาะ รักธรรม เป็นคณะผู้แทนไปยื่นข้อเสนอของพระองค์เจ้าบวรเดชต่อฝ่ายรัฐบาลอีกครั้ง มีใจความสำคัญ 6 ประการดังนี้ 1.ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยาม มีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปวสาน 2.ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือการตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาล ต้องเป็นไปตามเสียงหมู่มาก ไม่ใช่ทำด้วยการจับอาวุธดังที่แล้วมา โดยเหตุนี้ต้องยอมให้มีคณะการเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย 3.ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการ ทั้งทหาร

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (7)

กบฏกับเมฆทมึนปกคลุมสยาม จุดบรรจบที่สงครามกลางเมือง ในฝ่ายที่ยังคงจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริ่มเคลื่อนไหวโดยมีการประชุมหารืออยู่บ่อยครั้ง แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวหาได้เล็ดรอดไปจากการเฝ้าสังเกตจับตาโดยคณะราษฎรแต่อย่างใด และเพื่อเป็นการปรามแนวคิดที่จะก่อการยึดอำนาจคืนจากคณะราษฎร พันโท หลวงพิบูลสงคราม ทำหนังสือไปถึงคณะบุคคลที่กำลังเคลื่อนไหวกันอย่างเป็นความลับนั้น ดังมีใจความว่า "..... ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบรักษาความสงบเรียบร้อย จึงขอเตือนให้ท่านจงสงบจิตสงบใจ หากท่านยังจุ้นจ้านอีก คณะราษฎรตกลงจะทำการอย่างรุนแรง และจำต้องถือเอาความสงบของบ้านเมืองเป็นกฎหมายสูงสุดในการทำแก่ทาน ที่กล่าวมานี้มิใช่เป็นการขู่เข็ญ แต่เป็นการเตือนมาด้วยความหวังดี" คำขาดที่ว่านี้มีไปถึงบุคคลที่คิดก่อการ ดังเช่น พระองค์ เจ้าบวรเดช, พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์, หม่อมเจ้าวงศ์ เนรชร, หม่อมเจ้าไขแสง ระพีพัฒน์, หม่อมเจ้าโสภณ ภาราไดย์, พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช), พระศราภัยพิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช) ทุกพระองค์และทุกคนพากันเข้า

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (6)

จากรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 สู่ความร้าวฉานในคณะราษฎร ภายหลังการรัฐประหารเงียบ หรือการรัฐประหารครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน 2476 เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งในกรณีที่ไม่ระบุว่างดใช้มาตราใดบ้าง ทำให้สามารถกินความไปได้ว่าเป็นการยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญไปโดยปริยาย หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีก็เร่งดำเนินการในลักษณะคุกคามผู้ที่มีความเห็นตรงกันข้ามในทางการเมือง เริ่มจากการการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ ในวันที่ 2 เมษายน ตามมาด้วยคำสั่งชนิดสายฟ้าลงวันที่ 10 เมษายนให้ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ไปดูงานที่ฝรั่งเศส พร้อมค้าใช้จ่ายปีละ 1,000 ปอนด์ ซึ่งเท่ากับเป็นคำสั่งเนรเทศนั่นเอง ถัดมาอีก 2 วันคือในวันที่ 12 เมษายน 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมและภรรยาก็เดินทางออกนอกประเทศไทยด้วยเรือโกลา จากท่าบี.ไอ. (ใกล้ๆท่า EAC ของบริษัทอิสต์เอเชียติก) โดย พันตรีหลวงทัศนัยนิยมศึก (ผู้บังคับการทหารม้าและกองรถรบ) ร้อยโททวน วิชัยขัทคะ (จากกองร้อยรถรบ) นายจรูญ สืบแสง ตามไปส่งถึงสิงคโปร์ ขณะที่สมาชิกคณะราษฎรรวมทั้งลูกศิษย์ใก

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (5)

บทเกริ่นการรัฐประหารในสยาม: 1 เมษายน 2476 รัฐประหารตัวเอง วันที่ 27 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองฯ ที่ร่างโดยนายปรีดี พนมยงค์ เนื่องจากทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยไม่เห็นด้วยในร่างธรรมนูญฯดังกล่าว โดยการบริหารประเทศรูปแบบใหม่ภายใต้ฝ่ายบริหารที่เรียกว่า "คณะกรรมการราษฎร" และหัวหน้าคณะที่เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2475 คณะกรรมการราษฎรจึงออกแถลงการณ์ยืนยันความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ สมดังเจตนารมณ์คณะราษฎรผู้นำการเปลี่ยนแปลงในขณะนั้น แถลงการณ์คณะกรรมการราษฎร เนื่องแต่คณะราษฎรได้มีประกาศแสดงถึงการกระทำของกษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.นี้ และต่อมาคณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครอง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินแก่ราษฎร

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (4)

อำนาจหรือพระราชอำนาจในระบอบรัฐธรรมนูญสยาม 2475 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานลงมา ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2475 นั้นพระองค์ทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" กำกับต่อท้ายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยมีพระราชกระแสรับสั่งแก่คณะราษฎรว่าให้ใช้เป็นการชั่วคราว จากนั้นจึงให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) แถลงต่อสภาฯว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินที่ประกาศใช้แล้วนั้น เป็นฉบับชั่วคราวที่ร่างในเวลาฉุกละหุก ซึ่งอาจทำให้มีความบกพร่อง ไม่สามารถครอบคุลมในรายละเอียดที่จำเป็นอย่างเพียงพอสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองมาตั้งแต่ต้น จึงมีความเห็นว่าควรให้มีอนุกรรมการตรวจแก้ไขเพิ่มเติม จากบันทึกรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในที่สุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมก

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (3)

สิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ราชอาณาจักรสยามที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อหลวงศุภชลาศัยได้เข้าเฝ้าพระปกเกล้าฯ ได้รับทราบถึงการตัดสินพระทัยต่อการก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงรีบแจ้งข่าว ให้ นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (ในฐานะผู้รักษาการแม่ทัพเรือ) ทราบเมื่อเวลา 10.50 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน 2475 เพื่อถ่ายทอดถึงคณะราษฎร และ ผู้รักษาพระนคร ว่า ในหลวงได้มีพระราชหัตถเลขาตอบรับคณะราษฎรอย่างเป็นทางการ ว่าจะยอมเป็นพระเจ้าอยุ่หัวภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามที่คณะราษฎรได้แจ้งให้พระองค์ทราบ และให้จัดขบวนรถไฟพิเศษให้พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ประทับ ตามพระราชประสงค์ ข้อความในพระราชหัตถเลขามีดังนี้ ********** สวนไกลกังวล หัวหิน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถึงผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ด้วยได้ทราบความตามสำเนาหนังสือที่ได้ส่งไปยังกระทรวงมุรธาธรว่า คณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพระเจ้ากลับพระนคร เป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฏร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไม ไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจล

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (2)

ปฐมบทประชาธิปไตยสยาม พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หลังจากสมาชิกระดับนำของคณะราษฎรทยอยกันเดินทางกลับเข้าสู่พระราชอาณาจักรจนครบ ในช่วงต้นปี 2475 มีการประชุมเตรียมการเข้ายึดอำนาจการปกครองหลายครั้ง แล้วโอกาสเหมาะในการลงมือก็มาถึง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานยังสวนไกลกังวลในวันที่ 8 มิถุนายน ในการแปรพระราชฐานยังสวนไกลกังวลอันเป็นการเสด็จพระราชดำเนินครั้งสุดท้ายของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น มีพระบรมวงศ์เธอและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตามเสด็จไปเป็นอันมาก อาทิ 1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์ (พระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และพระอัยกาของ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี) 2. นายพลเรือเอก กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงกลาโหม 3. นายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ รองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม 4. นายพลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล จเรทหารบก 5. นายพลตรี พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผบ. พล.3 นครราชสีมา 6. นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร สมุหราชองครักษ์ 7. นายพันโท พระเริงรุกปัจจามิตร ราชองครักษ์ 8. นายพันตรี