ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (57)

อภิปราย "รัฐบาลเปรม 2/1":
ซื่อสัตย์แต่ขาดความสามารถ…


การประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟากรัฐบาลจัดเป็นครั้งแรก ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ตามข้อเสนอของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีและสมาชิกผู้แทนราษฎรประมาณ 100 คน ร่วมประชุม แต่หลังจากนั้นไม่ทันไรนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้ากลุ่มประชากรไทยกับคณะ ได้เสนอขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันที่ 28 พฤษภาคม และลงมติในวันที่ 1 มิถุนายน ผลการประชุมได้ลงมติไว้วางใจ

ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2524 ได้มีพระบรมราชองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง ทั้งนี้มีพรรคการเมืองมายื่นขอจดทะเบียนทั้งหมดรวม 20 พรรค

ในขณะเดียวกันความยุ่งยากในการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยแรกของนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งก็เริ่มส่อเค้าขึ้น ไล่มาตั้งแต่ปัญหาการเลือกตั้งอธิบดีกรมอัยการ ปัญหากรณีส่อเค้าทุจริตการสอบเป็นนายร้อยตำรวจตรี การจับแหล่งปลอมปนน้ำมันขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการกวดขันสถานเริงรมย์ นอกจากนี้ปรากฏการณ์ "คนป่าคืนเมือง" เป็นจำนวนมาก จากอดีตนักเรียน นิสิต นักศึกษา และปัญญาชนนักวิชาการ ตลอดจนประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ที่เข้าร่วมการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธกับกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) หลัง "กรณีนองเลือด 6 ตาลาฯ" พร้อมกันนั้นมีการกวาดล้ายค่าย "ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์" ขนาดใหญ่หลายแห่งทางภาคใต้ของประเทศ

ทั้งนี้ ปัญหาใหญ่ที่กดดันรัฐบาลแทบจะทุกยุคทุกสมัยคือปัญหาในกรุงเทพมหานครนี้เอง ซึ่งก็ได้แก่ ปัญหาการต่อต้านการย้ายตลาดนัดที่สนามหลวงไปอยู่ที่สวนจตุจักร และการต่อด้านของนักศึกษาเรื่องการขึ้นค่ารถเมล์จนทำให้รัฐบาลต้องชะลอไปก่อน และเมื่อเปิดประชุมรัฐสภาในวันที่ 10 ธันวาคม พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ หัวหน้าพรรคชาติประชาไทย ได้ยื่นญัตติปัญหาเศรษฐกิจต่อรัฐบาล เปิดโอกาสให้รัฐบาลชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ

ในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2 รัฐบาลได้เชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมคณะด้วย โดยนายบุญชู โรจนเสถียร ซึ่งลาออกจากรองหัวหน้าพรรคกิจสังคมก่อนหน้านี้มิได้ร่วมคณะรัฐบาลด้วย โดยคัดค้านการเข้าร่วมรัฐบาลในเวลาที่ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ

ต่อมามีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจำนวน 8 กระทรวง รัฐสภาได้กำหนดให้มีการเปิดอภิปรายในวันที่ 2 และวันที่ 3 มิถุนายน 2525 เป็นเวลา 2 วัน รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเสร็จการอภิปรายแล้วถึงแม้ว่าที่ประชุมลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีทุกกระทรวง แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนอภิปรายว่ารัฐบาลไม่สามารถดำเนินตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา

พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งโดดเด่นขึ้นมาในคราวปราบกบฏ 1 เมษายน 2524 ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจากพล.อ.ประยุทธ จารุมณี ในเดือนกันยายน 2525 พร้อมกับรับมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ

ต่อมาในระหว่างการเปิดประชุมสมัยวิสามัญในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2526 เพื่อยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ฝ่าย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งแบ่งฝ่ายกันชัดเจน และการวิพากษ์วิจารณ์แผ่ขยายเป็นวงกว้างออกไปทุกที พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงประกาศยุบสภาในวันที่ 19 มีนาคม 2526 ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อให้ประชาชนได้แสดงเจตจำนงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

จากการที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปในวันที่ 18 เมษายน 2526 การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้จะต้องสมัครในนามพรรคการเมือง และพรรคจะต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรทั้งหมดตามรัฐธรรมนูญ 2521 และตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2524

การเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน 2526 ตามรัฐธรรมนูญ 2521 และตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2524 ที่กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องสมัครในนามพรรคการเมือง และพรรคจะต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรทั้งหมด ปรากฏผลดังนี้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 324 คน พรรคกิจสังคมมีผู้แทนราษฎรมากที่สุด 92 คน พรรคชาติไทยได้ 73 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 56 คน พรรคประชากรไทยได้ 36 คน และพรรคอื่นๆ อีกรวม 10 พรรค

ส่วนสมาชิกวุฒิสภา ได้มีการจับสลากออกหนึ่งในสามเท่ากับ 75 คน และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันที่ 19 เมษายน 2526 จำนวน 75 คน และเพิ่มเติมอีก 18 คน รวมเป็นสมาชิกวุฒิสภา 243 คน รวมสมาชิกรัฐสภา 567 คน

หลังจากการเลือกตั้งแล้ว ได้มีการเสนอบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึงพรรคการเมืองหลายพรรคให้การสนับสนุน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นรัฐบาลชุดที่ 43 หรือรัฐบาลเปรม 2/1 จากนั้นจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ในวันที่ 30 เมษายน 2526 และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน 44 คน รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 20 พฤษภาคม 2526

คณะรัฐบาลจากพรรคการเมือง 4 พรรค ได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชากรไทย และพรรคชาติประชาธิปไตย รวมทั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรที่ไม่สังกัดพรรคด้วย โดยมีพรรคชาติไทยเป็นฝ่ายค้าน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านคือ พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร

พล.อ.เปรม ต้องเผชิญศึกหนักในสภานับตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้นำในการบริหารประเทศในรอบนี้ เริ่มจากญัตติของพรรคชาติไทยขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งกำหนดให้มีการอภิปรายในวันที่ 13 และ 14 กรกฎาคม 2526 แต่แล้วไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจเพราะฝ่ายรัฐบาลชิงเสนอให้ผ่านระเบียบวาระ เปิดอภิปรายไปตามสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 137 วรรคสองเสียก่อน

ต่อมาวันที่ 27 มกราคม 2527 พรรคชาติไทยยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ปรากฏว่ามีรายชื่อไม่ครบ 65 คน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ญัตติดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ

ดังนั้นพรรคชาติไทยจึงจัดอภิปรายนอกสภา ไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมดุสิตธานี ในวันที่ 29 มกราคม 2527 โดยมีข้อสรุปว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต แต่ขาดความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมได้ เนื่องจากมีผู้ร่วมรัฐบาลที่ไม่มีความสามารถและมีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ.



พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข วันที่ 17-23 เมษายน 2553
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (52)

"คณะปฏิรูปฯ" และ "รัฐบาลหอย" กับมรสุมลูกแรก กบฏ 26 มีนาคม 2520 ตอนเย็นวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นั่นเอง นายทหารคณะหนึ่งปรากฏตัวขึ้นในนาม "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช โดยให้เหตุผลในคำประกาศว่า เพื่อกอบกู้สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้พ้นจากสถานการณ์อันเลวร้าย จึงยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ยุบรัฐสภา ยกเลิกพรรคการเมือง ประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมทั้งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 01.00 – 04.30 น. จากนั้นในวันที่ 8 ตุลาคม พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นการการสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของประชาชนที่รวมตัวกันล้มระบอบเผด็จการทหาร พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ตั้งคณะรัฐมนต...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (56)

เรื่องของ "เปรม": เส้นทางที่ไม่ได้เลือก? รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการรวบรวมและดำเนินคดีในฐานะกบฏคณะบุคคลทั้งทหารและพลเรือน รวมทั้งประกาศให้ให้ผู้ร่วมก่อความไม่สงบรายงานเข้ารายงานตัว จนถึงเวลาที่กำหนดเป็นเส้นตาย มีผู้รายงานตัวครบ 289 คน เป็นพลเรือน 110 คน เช่น นายรักศักดิ์ วัฒนาพานิช และ นายบุญชนะ อัตถากร ตำรวจ 25 คน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และทหาร 154 คน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกลุ่มทหารหนุ่มที่เรียกว่า "ยังเติร์ก (Young Turk)" ทั้งนี้เป็นการเรียกขานกันโดยมีที่มาจากขบวนการปัญญาชนหัวใหม่ปลายยุคอาณาจักรออตโตมาน ที่ลุกขึ้นปฏิวัติประชาธิปไตยระหว่างปี ค.ศ. 1876 ถึงปี ค.ศ. 1923 ผู้นำคนสำคัญคือ มุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) ซึ่งก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ ใน "สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation)" ช่วงปี ค.ศ. 1919-1923 จนเกิด สาธารณรัฐตุรกี จึงมีชื่อเรียกความพยายามทำรัฐประหารครั้งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "กบฏยังเติร์ก" ในจำนวนแกนนำระดับหัวหน้าผู้ก่อการคนสำคัญที่เดินทางออกนอกประเทศ พ.อ.มนูญ รูปขจร ลี...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (50)

6 ตุลาคม 2519 วันสังหารนกพิราบ ในวันที่ 2 ตุลาคม 2519 อันเป็นกำหนดเวลาเส้นตายที่ศูนย์นิสิตฯยื่นต่อรัฐบาล ทางฝ่าย กระทิงแดง ยกกำลังอันธพาลทางการเมืองจำนวนหนึ่งอ้างว่าเพื่อป้องกันการบุกรุกมาตั้งแนวล้อมวัดบวรนิเวศ ปรากฏว่าหลังจากตัวแทนตัวแทนศูนย์นิสิตฯ ไม่ได้รับคำตอบใดจากการเข้าพบนายกรัฐมนตรี จึงกลับออกมาและเรียกประชุมได้ข้อสรุปออกมาเป้นมติให้มีการชุมนุมประชาชนครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในเวลาเย็นวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม ต่อมานับจากช่วงเช้าของวันที่ 4 ตุลาคมนั้นเอง กลุ่มนักศึกษาอิสระในธรรมศาสตร์รวม 21 กลุ่ม เริ่มการรณรงค์ให้นักศึกษางดสอบและเข้าร่วมการประท้วงขับไล่จอมพลถนอม ในการนี้ ชมรมนาฏศิลป์และการละครได้จัดการแสดงละครปลุกเร้าจิตสำนึกทางการเมือง โดยมีฉากหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนถึงช่างไฟฟ้าที่ถูกสังหารที่นครปฐม ปรากฏว่าการรณรงค์ประสบผลจนทำให้มหาวิทยาลัยต้องประกาศเลื่อนการสอบออกไปอย่างไม่มีกำหนด ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น. ประชาชนเริ่มทยอยกันมาชุมนุมที่สนามหลวง แล้วเกิดฝนตก แต่ในขณะเดียวกันมีสัญญาณบ่งบอกว่าในช่วงกลางคืนน่าจะมีการคุกคามโดยกลุ่มที่ต่อต้านนิสิต นักศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มว่าผลักดันโดยขบ...