ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

โพสต์ล่าสุด

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (57)

อภิปราย "รัฐบาลเปรม 2/1": ซื่อสัตย์แต่ขาดความสามารถ… การประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟากรัฐบาลจัดเป็นครั้งแรก ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ตามข้อเสนอของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีและสมาชิกผู้แทนราษฎรประมาณ 100 คน ร่วมประชุม แต่หลังจากนั้นไม่ทันไร นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้ากลุ่มประชากรไทยกับคณะ ได้เสนอขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันที่ 28 พฤษภาคม และลงมติในวันที่ 1 มิถุนายน ผลการประชุมได้ลงมติไว้วางใจ ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2524 ได้มีพระบรมราชองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง ทั้งนี้มีพรรคการเมืองมายื่นขอจดทะเบียนทั้งหมดรวม 20 พรรค ในขณะเดียวกันความยุ่งยากในการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยแรกของนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งก็เริ่มส่อเค้าขึ้น ไล่มาตั้งแต่ปัญหาการเลือกตั้งอธิบดีกรมอัยการ ปัญหากรณีส่อเค้าทุจริตการสอบเป็นนายร้อยตำรวจตรี การจับแหล่งปลอมปนน้ำมันขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการกวดขันสถานเริงรมย์ นอกจากนี้ปรากฏการณ์ "คนป่าคืนเมือง" เป็นจำนวนมาก จากอดีตนักเรียน นิสิต นัก...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (56)

เรื่องของ "เปรม": เส้นทางที่ไม่ได้เลือก? รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการรวบรวมและดำเนินคดีในฐานะกบฏคณะบุคคลทั้งทหารและพลเรือน รวมทั้งประกาศให้ให้ผู้ร่วมก่อความไม่สงบรายงานเข้ารายงานตัว จนถึงเวลาที่กำหนดเป็นเส้นตาย มีผู้รายงานตัวครบ 289 คน เป็นพลเรือน 110 คน เช่น นายรักศักดิ์ วัฒนาพานิช และ นายบุญชนะ อัตถากร ตำรวจ 25 คน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และทหาร 154 คน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกลุ่มทหารหนุ่มที่เรียกว่า "ยังเติร์ก (Young Turk)" ทั้งนี้เป็นการเรียกขานกันโดยมีที่มาจากขบวนการปัญญาชนหัวใหม่ปลายยุคอาณาจักรออตโตมาน ที่ลุกขึ้นปฏิวัติประชาธิปไตยระหว่างปี ค.ศ. 1876 ถึงปี ค.ศ. 1923 ผู้นำคนสำคัญคือ มุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) ซึ่งก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ ใน "สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation)" ช่วงปี ค.ศ. 1919-1923 จนเกิด สาธารณรัฐตุรกี จึงมีชื่อเรียกความพยายามทำรัฐประหารครั้งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "กบฏยังเติร์ก" ในจำนวนแกนนำระดับหัวหน้าผู้ก่อการคนสำคัญที่เดินทางออกนอกประเทศ พ.อ.มนูญ รูปขจร ลี...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (55)

1 ปีรัฐบาลเปรม 1-2: "กบฏเมษาฮาวาย" พ่าย หลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายกรัฐมนตรี ผลงานลำดับแรกของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือการแจ้งแก่กลุ่มการเมืองต่างๆในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันหารือเสนอรายชื่อตัวบุคคลเข้าร่วมคณะรัฐมนตรี โดยจะให้มีรัฐมนตรีร่วมคณะน้อยที่สุด เพื่อจัดตั้งรัฐบาลภายใน 15 วัน ซึ่งในที่สุดวันที่ 12 มีนาคม 2523 จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีรวม 37 คน พลเอกเปรมกล่าวปราศรัยต่อประชาชนทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ทุกเครือข่าย ก่อนที่จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเพื่อขอความไว้วางใจ ในวันที่ 29 มีนาคม 2523 เพื่อที่จะเข้าแบกรับภารกิจการบริหารประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากนายทหารระดับผู้บัญชาการเหล่าทัพ และเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาแล้ว 2 กระทรวงตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ หนึ่งในปัญหาหลักของคณะผู้บริหารประเทศในช่วงเวลาคาบเกี่ยวการสิ้นสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ดำเนินสงครามประชาชนอยู่ในเขตป่าเขามาตั้งแต่ปี 2508 นั้น ย่อมหนีไม่พ้น ปัญหาการการขับเคี่ยวกันระหว่างรัฐบาลกับกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ที่รัฐบาลหลังกา...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (54)

หมดเวลา "แกงไก่ใส่บรั่นดี": ฉากแรกสู่อำนาจของ "ป๋า" ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญทางการเมืองชนิดล้มลุกคลุกคลานมาตลอดหลังการรัฐประหาร 2490 ซึ่งเป็นการ "โค่นล้ม" ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ตามความหมายจากการสัมภาษณ์นายปรีดี พนมยงค์ ที่แสดงไว้เมื่อปี 2525 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี "การอภิวัฒน์สยาม 2475" โดยสถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย จังหวะก้าวทางการเมืองที่มีความมหายและนัยสำคัญ และส่งผลสะเทือนและมีอิทธิพลต่อการเมืองในเวลาต่อมาอีกกว่า 30 ปี คือ การก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองอย่างเต็มตัวของ พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ (ยศในขณะนั้น) จากการได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่มีนายกรัฐมนตรี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นเจ้ากระทรวง ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 (11 พฤศจิกายน 2520 - 21 ธันวาคม 2521) และในเวลาต่อมาในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 41 (12 พฤษภาคม 2522 - 3 มีนาคม 2523) พล.อ.เปรม ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และโดยที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 พุทธศักราช 2520 จากการรัฐประหาร กำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (53)

จาก "หอย" สู่ "อินทรีแห่งทุ่งบางเขน": รัฐบาลพลเรือนหรือจะสู้รัฐบาลทหาร การดำเนินคดี "กบฏ 20 มีนาคม 2520" เป็นไปอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด ในวันที่ 21 เมษายน 2520 รัฐบาลได้ใช้อำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 11) พุทธศักราช 2519 ตัดสินลงโทษโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ มีคำสั่งให้ถอดยศและประหารชีวิตนายฉลาด หิรัญศิริ และจำคุกตลอดชีวิตผู้ก่อการที่เหลืออีก 4 คน ซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเพิ่มอีก 8 คน รวมเป็น 12 คน นอกจากนั้นยังมีผู้ได้รับโทษลดหลั่นลงมาอีก 11 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีพลเรือนที่พลเอกฉลาดชักชวนมา อาทิ นายพิชัย วาสนาส่ง, นายสมพจน์ ปิยะอุย, นายวีระ มุสิกพงศ์ ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2520 ส่วน พล.ต.อรุณ ทวาทวศิน ได้รับการเลื่อนยศหลังจากการเสียชีวิตให้เป็นพลเอก หลังจากนั้น รัฐบาลจัดให้มีการสอบสวน จอมพล ถนอม กิตติขจร กับพวก ในข้อหากระทำผิดฐานสั่งฆ่านิสิต นักศึกษา ประชาชน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ปรากฏว่ามีคำสั่งไม่ฟ้อง จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เน...

2475-2549 โปรดฟังอีกครั้ง (52)

"คณะปฏิรูปฯ" และ "รัฐบาลหอย" กับมรสุมลูกแรก กบฏ 26 มีนาคม 2520 ตอนเย็นวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นั่นเอง นายทหารคณะหนึ่งปรากฏตัวขึ้นในนาม "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช โดยให้เหตุผลในคำประกาศว่า เพื่อกอบกู้สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้พ้นจากสถานการณ์อันเลวร้าย จึงยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ยุบรัฐสภา ยกเลิกพรรคการเมือง ประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมทั้งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 01.00 – 04.30 น. จากนั้นในวันที่ 8 ตุลาคม พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นับเป็นการการสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของประชาชนที่รวมตัวกันล้มระบอบเผด็จการทหาร พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ตั้งคณะรัฐมนต...